*..รอโหลดซักกะเดี๋ยว..*           ฝ่าวิกฤติการเมืองไทย..๒๕๔๙
. . . ร่วมด้วยช่วยกันเผยแพร่สื่อสารถึง"คนเสื้อแดง"ทั่วไทยและทั่วโลก . . . ขอขอบพระคุณเจ้าของclipภาพถ่ายและบทความทุกๆท่านที่กรุณาเอื้อเฟื้อแบ่งปัน . . .น้ำใจซื้อขายไม่ได้ แต่น้ำใจให้กันได้...อิอิ
คลิกที่นี่...ดูสด VoiceTV และ AsiaUpdate *..รอโหลดซักกะเดี๋ยวเตง..*
  

@ ปู้นนน...!!! คนเมืองใต้เจียงใหม่ของหมู่เฮาลงไปตางปู๊นนน..... * * * * * @ 2กุมภา..กาเบอร์ 15 ทั้ง ส.ส.เขต และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย
คลิกที่ภาพ...เพื่อดูขนาดที่ใหญ่ขึ้น @ New!! แจกปฏิทินนายกฯปู พ.ศ.2556 คลิกที่นี่...

คลิกที่ภาพ...เพื่อดูขนาดที่ใหญ่ขึ้น


คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

PlayListนี้ เริ่มต้นด้วย "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน" เรียงลำดับตั้งแต่ ตอนแรก ถึง ตอนปัจจุบัน ..ท้ายเพลย์ลิสท์เป็นคลิป "เมื่อศาลรัฐธรรมนูญกระทำขัดรัฐธรรมนูญ : จะทำอย่างไร?" วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2556 เวลา 13.00 - 16.00 น. ห้องกมลทิพย์ ชั้น 2 โรงแรมสุโกศล (สยามซิตี้เดิม) คลิปนี้..วิทยากร รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความคิดเห็นเริ่มนาที 0:14:24
คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...
หรือคลิกที่นี่.. @ AsiaUpdate "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน"

วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เล่าให้ฟัง >> ทักษิณ..บินไปทั่วโลก 01, 02, 03,


เล่าให้ฟัง >> ทักษิณ..บินไปทั่วโลก 01, 02, 03,
By: Thaksin Shinawatra


01, 3 เมษายน 2556

สวัสดีครับ พี่น้องคนไทยที่เคารพรักและคิดถึงครับ

ผมไม่ได้ใช้ Facebook เป็นช่องทางพูดคุยกับพี่น้องมานานเพราะไม่อยากให้รบกวนการเมืองของรัฐบาล แต่นับวัน การเดินทางที่มากขึ้น ได้พบเห็นอะไรมากขึ้น กลัวว่าความรู้เหล่านั้นจะหายไป ไม่ได้ share กับพี่น้องก็เลยปรึกษากับ Oak ว่าพ่อควรจะมีเกร็ดความรู้มาเล่าให้พี่น้องฟัง Oak ก็เลยบอกให้พี่น้องทราบผ่าน Facebook : Oak Panthongtae Shinawatra ผมจึงขอโอกาสใช้วันที่ 3/4/56 ให้เป็นวันดีที่ตัวเลขต่อเนื่อง กับเพื่อความก้าวหน้าของชีวิตของผู้สนับสนุนทุกท่าน ได้เรียนรู้เรื่องราวต่างๆวันนี้

ขอเริ่มเล่าเรื่องที่ผมได้รับเชิญจากประธานาธิบดี H. E. Mr. Emomalii Rahmon แห่งสาธารณรัฐทาจิกิสถาน ซึ่งเป็นประเทศในสหภาพโซเวียตสมัยก่อน ปีนี้เขาเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศในกลุ่ม ACD ( Asia Cooperation Dialogue ) ได้เชิญผมในฐานะเป็นผู้ก่อตั้ง ACD ขึ้นมาครั้งผมเป็นนายกรัฐมนตรี ให้ผมมาพูดถึงความสำคัญของ ACD ว่าเราควรจะมีวิสัยทัศน์ต่อไปอย่างไร ให้รัฐมนตรีต่างประเทศของ 32 ประเทศสมาชิกฟัง ซึ่งผมจะแนบสุนทรพจน์ของผมไว้ให้ท่านอ่านในอีกโพสต์ครับ ผมคงไม่เล่าเรื่อง ACD ในตอนนี้นะครับ เกรงว่าจะยาวไป ประเทศทาจิกิสถานนี้ ผมมาเยือนเป็นทางการเมื่อ 9 ก.ย. 49 หลังจากนั้นก็เดินทางไปประชุม ASEM (Asia-Europe) ที่กรุง Helsinki, Finland, ประชุม NAM Summit (ประเทศผู้ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด) ที่ Cuba และก็เดินทางต่อไปประชุม General Assembly ของ UN ที่ New York, USA จนเกิดรัฐประหารในวันที่ 19 ก.ย.49

ทาจิกิสถานวันนี้ยังดูยากจนมาก แต่ก็มีร่องรอยของตึกที่สร้างไว้สมัย Soviet Union อยู่พอสมควร แต่วันนี้เขาพัฒนาไปมาก มีทำเนียบฯใหม่ ที่ใหญ่และสวยงามมาก มีตึกรามขึ้นมาก เพราะเดิมทำแต่เกษตร วันนี้เขามีเหมืองเงินที่ใหญ่ระดับโลก มีเหมืองทองและแร่อื่นๆ ที่สำคัญกำลังพบแหล่งแก๊สที่เป็นโครงสร้างเดียวกับที่พบในเหมืองของอัฟกานิสถาน ความที่ประเทศเขาไม่ใหญ่ รายได้จึงนำมาพัฒนาประเทศได้เยอะ ความเป็นธรรมชาติยังมีอยู่มาก เพราะล้อมรอบด้วยภูเขา มีหิมะในหน้าหนาวและละลายเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญเพื่อการเกษตรและไฟฟ้าตอนหิมะละลาย

ผักผลไม้ที่นี่ค่อนข้างสวยและเป็น organic มาก ผมชอบมะเขือเทศที่นี่มาก ลูกใหญ่หวาน กรอบ ประธานาธิบดีจูงมือผมเดินชมสิ่งที่เขาสร้างขึ้นใหม่ๆ ด้วยความภูมิใจ ซึ่งผมก็ภูมิใจแทนเขาที่สามารถพัฒนาประเทศได้อย่างต่อเนื่อง ผมก็เลยเชิญท่านมาเยือนไทยเป็นทางการอีกครั้งหนึ่ง และมาร่วมงาน Water Summit ที่เชียงใหม่ด้วย

วันนี้ขออนุญาตเล่าแค่นี้ครับ เพราะเดี๋ยวจะไปพบกับนักการเงินแถบนี้ เขาอยากพาเศรษฐีแถบนี้ไปลงทุน แล้วก็มาเล่าความคืบหน้าของการรื้อฟื้นความสำพันธ์กับซาอุดิอาระเบียให้ฟัง เพราะนักธุรกิจซาอุฯเริ่มคิดหา potential ในเมืองไทยแล้ว เพราะได้รับสัญญาณจากผู้ใหญ่ในประเทศว่า การรื้อฟื้นความสัมพันธ์จวนจะเป็นจริงแล้วครับ

ถ้าอ่านแล้วก็กรุณา share ช่วยให้ผมได้มีช่องทางพูดคุยกับคนไทยให้มากที่สุด อย่างสร้างสรรค์ แบบไม่มีการเมืองนะครับ

คิดถึงครับ
ทักษิณ ชินวัตร


02, 3 April 2013

Your Excellency Mr. Emomalii Rahmon, President of the Republic of Tajikistan,
Your Excellency Mr. Hamrokhon Zarifi, Minister of Foreign Affairs of the Republic of Tajikistan,
Excellencies,
Distinguished Delegates,

It is truly a privilege for me to be invited to speak at this 11th Ministerial Meeting of the Asia Cooperation Dialogue (ACD), held for the first time in the Republic of Tajikistan, a country of rich historical and cultural heritage. I wish to express my heartfelt appreciation to the Government of Tajikistan for according me this honour.

This visit to Dushanbe brings back many old memories since Tajikistan was the last country that I made an official visit as Prime Minister on 9 September 2006. Only 10 days later, a coup d'etat was staged at home while I was away on my official duty.

It is particularly meaningful to me to be given this opportunity since it was at my seaside residence in Cha-am, Thailand that the ACD first came into being back in June 2002. On that occasion, there were 18 founding countries altogether, which made my dining room quite cramped, but also very warm with the solidarity of our convictions.

Looking back to those early days over a decade ago, I still recall the initial challenges we faced in establishing this region-wide cooperation, which was unprecedented at that time. While other continents of the world had a regional grouping encompassing all the countries in the region, this was a missing link as far as Asia was concerned. But with all of the ASEAN countries as the base, we were able to draw upon the support of our friends in East Asia, South Asia and the Middle East to forge a region-wide strategic partnership spanning all corners of the continent, from North to South, and from East to West.

And so, the ACD was born.

Since those eventful days, I am pleased to say that our organization has steadily gathered momentum. I am gratified to see that since 2002, our membership has almost doubled to 32 countries at present, with additional members from the Middle East and South Asia in particular. Certainly, we are well on the way to becoming a continent-wide grouping.

Excellencies,
Distinguished Participants,

In my opening statement at the Inaugural Meeting of the Asia Cooperation Dialogue, I presented my vision of why a grouping such as the ACD is so essential for our region. I believe that it is worth repeating today because the essence of the message remains the same, if not even more so.

Asia today is home to over 4 billion people, accounting for almost 60 percent of the world’s population, and representing a huge market and a rich pool of human resources.

It is the world’s largest and most diverse continent, comprising 30 percent of the earth’s land area, and rich in natural resources.

Asia remains the world’s fastest growing economic region and will continue to be the driver of global growth during the decades ahead. Asia’s proportion in world exports has also risen over the past ten years, with our region now accounting for over 30 percent of world trade.

When the ACD first originated, Asia’s total combined international reserves amounted to over one trillion U.S. dollars, representing over half of the world’s foreign exchange reserves. Today, the percentage is even greater with Asian reserves multiplying at an astounding level.

Not only is Asia rich in economic terms, but also in religious and cultural dimensions as well. Asia is, of course, the birthplace of most of the world’s major religions, including Islam, Hinduism, Christianity, Buddhism, and others. Many of the Seven Wonders of the Ancient World and the Modern World are located in Asia. And Asia was the cradle of the world’s earliest civilizations, dating back thousands of years.

Against this backdrop of seeming abundance and wealth, it was disconcerting to me that, in much of Asia, our peoples still remain mired in poverty. It was perturbing to me that great potentials exist in our region and yet they remained largely untapped. And it was of great concern to me that despite our age-old shared heritage, the countries of Asia continue to compete with one another, and are often embroiled in conflict, rather than joining hands to channel our strengths into cooperative endeavours.

For this reason, I saw the need for a region-wide grouping such as the ACD, which would be both a forum for cooperation as well as for dialogue. It would be a vehicle for us to turn our diversity and vast potential into mutual benefits. And it would be an avenue for us to pool our individual strengths together to make a stronger Asia that would be a better partner, not only for our region, but for the rest of the world.

Excellencies, I must admit to feeling a sense of pride in seeing the ACD grow and expand its areas of cooperation during the six years that I served as Prime Minister of Thailand. However, since I left office in 2006, I do detect some decline in interest, with only two new members admitted since then. Therefore, my main purpose today is to appeal to you all -- to help revitalize the ACD, and inject new life and dynamism into our grouping.

During this time when many other regions of the world are encountering economic and financial difficulties, Asia has been a bastion of strength and stability, with the fastest growing economies in the world mainly coming from Asia. But while the region is generally doing well, there is so much more that we can do together, if we pool our inner strengths and comparative advantages. We are already major producers of goods for the rest of the world, but we are still lagging behind when it comes to value creation and adding value to our products. It is, therefore, high time that we put our conflicts and rivalry aside, and channel our energies instead into close cooperation under the ACD, as a driver towards regional peace, prosperity and stability.

Excellencies,
Distinguished Participants,
Ladies and Gentlemen,

Over 2,000 years ago, some of our ancestors and ancient traders travelled along the famous Silk Road. This historic road extended almost 8,000 kilometres from China through Asia, including parts of Tajikistan, to the Middle East, the Mediterranean, Europe and Africa. This network of interlinking trade routes played a highly significant role in the exchange of goods, knowledge and technologies, as well as the propagation of religions, philosophies and cultures.

Today, with all the talk about regional connectivity, we envisage a New Silk Road that will intricately link ACD Member Countries with one another and with other regions through an extensive network of roads, railways, sea lanes and air routes. This is the hardware.

Equally important, however, is the software in the form of the longstanding cultural, religious and historical heritage, which can weave the countries of Asia together into a single priceless, exquisite and durable fabric.

I invite you all to join me in taking a highly-rewarding journey along this New Silk Road, which will link our common destinies together along the path towards greater peace and prosperity.

Thank you for your attention.


03, 3 เมษายน 2556

ปาฐกถาที่ประชุม ACD ปลุกเอเชียร่วมสร้างเส้นทางสายไหมยุคใหม่

พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้รับเชิญจากนายเอมอมาลี ราห์มอน ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐทาจิกิสถาน เป็นแขกเกียรติยศปาฐกถาในพิธีเปิดการประชุมระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมืออาเซีย (ACD) ครั้งที่ 11 ณ กรุงดูชานเบ สาธารณรัฐทาจิกิสถาน เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2556

รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับเชิญมาร่วมการประชุม ACD ครั้งที่ 11 ที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรก ณ สาธารณรัฐทาจิกิสถาน ประเทศซึ่งเปี่ยมล้นไปด้วยแหล่งอารยธรรมและศิลปวัฒนธรรมอันเลอค่า และขอขอบคุณรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐทาจิกิสถานที่ให้เกียรติเชิญมาปาฐกถาในวันนี้ ซึ่งในโอกาสที่ได้กลับมาเมืองดูชานเบ ในครั้งนี้ทำให้อดหวนคิดถึงอดีตไม่ได้ โดยเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2549 เป็นวันที่ผมเดินทางมาเยี่ยมเยียน สาธารณรัฐทาจิกิสถานอย่างเป็นทางการประเทศสุดท้าย ขณะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งสิบวันหลังจากนั้นก็เกิดการรัฐประหารขึ้นในประเทศไทยขณะที่ผมยังปฏิบัติราชการในต่างประเทศ

ACD ถือกำเนิดที่ประเทศไทย ในเดือนมิถุนายน 2545 ซึ่งในครั้งนั้นมีประเทศผู้ร่วมก่อตั้ง ACD 18 ประเทศมาร่วมประชุมด้วยกัน ทำให้บรรยากาศอบอุ่นมากสำหรับความตั้งใจในการที่จะรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หากมองย้อนกลับไปเกือบ 10 ปีก่อน ที่เป็นช่วงเวลาที่ท้าทาย เพื่อผลักดันให้เกิดความร่วมมือกันในภูมิภาคแห่งนี้ ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อน ในเวลานั้นประเทศต่างๆ ในทวีปอื่นเริ่มมีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มแล้ว แต่ประเทศในทวีปเอเชียยังไม่ได้คิดถึงการรวมตัว โชคดีที่ว่ากลุ่มประเทศอาเซียนมีการรวมศูนย์กันอยู่แล้ว ประกอบกับการยอมรับและได้รับการสนับสนุนจากมิตรประเทศในแถบเอเชียตะวันออก เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกกลาง ทำให้เอเชียของเราสามารถหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้จากทุกมุมทวีป จากเหนือจรดใต้ จากตะวันออกจรดตะวันตก และนั่น จึงก่อเกิด ACD ขึ้นมา

นับตั้งแต่วันที่มีความหมายนั้นเป็นต้นมา ผมยินดีที่จะบอกว่าองค์กรของพวกเราเติบโตขึ้นด้วยความมั่นคงและทรงพลัง นับตั้งแต่ปี 2545 มีประเทศสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว โดยในเวลานี้มีประเทศสมาชิกแล้ว 32 ประเทศ ซึ่งได้แก่ประเทศสมาชิกจากโซนเอเชียตะวันออกกลางและเอเชียใต้ ซึ่งเป็นการรวมตัวกันเป็นกลุ่มที่มีขนาดครอบคลุมไปทั้งทวีป

ซึ่งการรวมตัวเป็นกลุ่มประเทศ อย่าง ACD มีความจำเป็น สำหรับภูมิภาคของเรา และผมเชื่อว่ามีความสำคัญไม่มากก็น้อยจึงขออนุญาตนำมาพูดซ้ำอีกครั้งในวันนี้

ทวีปเอเชีย มีประชากรมากกว่าสี่พันล้านคน นับเป็น 60% จากจำนวนประชากรทั้งโลก มีตลาดการค้าขายที่ใหญ่ มหึมาและเป็นแหล่งรวมทรัพยากรมนุษย์อันมีค่า ที่นี่คือที่ที่มีดินแดนกว้างใหญ่ ขนาดราว 30% ของเปลือกโลก และที่นี่มีความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติปริมาณมหาศาล และยังเป็นดินแดนที่เศรษฐกิจเติบโตสูงที่สุดในโลก เป็นภูมิภาคหลักที่ผลักดันความเจริญของโลกในตลอดหลายสิบปีมานี้ ปริมาณการส่งสินค้าของออกของภูมิภาคนี้ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดหลายสิบปีมานี้ และปัจจุบันมูลค่าการค้าขายของเอเชียมีปริมาณ30% ของการค้าขายทั้งโลก

ในระยะเริ่มต้นของการก่อตั้ง ACD เอเชียมีทุนสำรอง สะสมรวมกันประมาณหนึ่งล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณครึ่งหนึ่งของทุนแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ แต่วันนี้เปอร์เซ็นต์ของจำนวนดังกล่าวสูงขึ้นอย่างน่าประหลาดใจ

ไม่เพียงแต่ขนาดของเศรษฐกิจในเอเชียที่มีการขยายตัวอย่างมาก แต่การขยายตัวยังรวมไปถึงการขยายตัวในมิติอื่นๆ เช่น ศาสนาและศิลปวัฒนธรรม เอเชียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาสำคัญ รวมไปถึงมีสิ่งมหัศจรรย์ของโลกโบราณ สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่หลายสิ่ง และเอเชียก็ยังเป็นหนึ่งในดินแดนที่เป็นต้นกำเนิดของอารยธรรมโบราณนับย้อนหลังได้หลายพันปี

หากมองข้ามฉากหลังของความมั่งคั่ง เราก็ต้องยอมรับว่าในอีกหลายๆ พื้นที่ในเอเชีย ประชากรของเรายังคงมีฐานะยากจนอยู่ และมันรบกวนความรู้สึกของผมที่ว่าจำนวนประชากรที่ยากจนนั้นมีอยู่จำนวนมากและไม่ได้รับการเอาใจใส่ แม้ว่าเรามีการแลกเปลี่ยนอารยธรรมระหว่างกันและกันมาตั้งแต่โบราณกาล แต่เอเชียก็ยังคงแข่งขันระหว่างกัน และหลายครั้งที่พาให้ประเทศพัวพันกับความขัดแย้งระหว่างกัน ซึ่งน่าเสียดายเพราะเราน่าจะทำให้เกิดความพยายามที่จะร่วมมือกัน และนำพาความเข้มแข็งมาสู่ภูมิภาคนี้

ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ผมเล็งเห็นว่าการรวมตัวเป็นกลุ่มลักษณะนี้จะช่วยทำให้เกิดการเจรจาต่อรองและร่วมมือระหว่างกัน เป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงความขัดแย้ง ความแตกต่างไปสู่ผลประโยชน์ที่ต่างฝ่ายต่างยอมรับได้ ซึ่งจะเป็นหนทางสร้างความเข้มแข็งในหมู่ประเทศสมาชิกและขยายฐานพันธมิตรต่อไปยังภูมิภาคอื่น

ท่านผู้มีเกียรติทั้งหลาย ผมมีความภาคภูมิใจที่ได้เห็นการเติบโตก้าวหน้าและการเพิ่มจำนวนประเทศสมาชิกใน ACD ตลอดระยะเวลาที่ผมดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย อย่างไรก็ตามหลังจากที่พ้นตำแหน่งในปี 2549 ผมพบว่ามีความกระตือรือร้นลดลงและมีประเทศสมาชิกมาเพิ่มใหม่เพียง 2 ประเทศ ดังนั้นในวันนี้จึงขอให้พวกท่านทั้งหลายหันมาฟื้นฟู ACDให้เป็นพลวัตใหม่ให้กับทุกชีวิต

ในช่วงเวลานี้ จะเห็นว่าประเทศหลายๆ ประเทศในภูมิภาคอื่นของโลกประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจและการเงินอย่างหนัก แต่เอเชียของเรายังคงมีความแข็งแกร่งและมีเสถียรภาพดีอยู่มาก ดังที่เห็นว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกเป็นผลมาจากการขยายตัวของเศรษฐกิจจากเอเชีย แต่ถึงแม้ว่าการขยายตัวในภูมิภาคนี้ของเรายังเป็นไปด้วยดีอยู่ ก็ยิ่งควรที่จะรวมกลุ่มกัน เพราะช่วยกันเสริมสร้างความแข็งแกร่งระหว่างกัน จะได้เป็นการเพิ่มโอกาสในการแข่งขันต่อภูมิภาคอื่นด้วย

พวกเราส่วนใหญ่ล้วนเป็นผู้ผลิตสินค้าหลักให้กับผู้บริโภคในภูมิภาคอื่น แต่ก็ต้องยอมรับว่าเรายังอ่อนด้อยเรื่องการสร้างมูลค่าเพิ่มในสินค้าที่ส่งออก ดังนั้นแทนที่เราจะต้องมาแข่งขันตัดราคากันเอง การรวมตัวเป็น ACD จะช่วยทำให้ลดการแข่งขันและลดความขัดแย้งในหมู่ประเทศสมาชิกได้

เอกอัครราชทูต ผู้มีเกียรติ สุภาพสตรีและสุภาพบุรุษทุกท่าน สองพันปีก่อน บรรพบุรุษของพวกเราได้ทำการค้าขายตามเส้นทางโบราณอันเลื่องชื่อ เส้นทางสายไหม บนถนนแห่งประวัติศาสตร์ที่มีความยาวกว่า 8,000 กิโลเมตรสายนี้ เริ่มต้นจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนทอดผ่านบางส่วนของสาธารณรัฐทาจิกิสถาน ไปสู่ตะวันออกกลาง เมดิเตอร์เรเนียน ยุโรป และแอฟริกา เส้นทางการค้านานาประเทศสายนี้เป็นถนนสำคัญของการแลกเปลี่ยนสินค้า ความรู้และเทคโนโลยี รวมไปถึงศาสนา ปรัชญาและศิลปวัฒนธรรม

การที่เรามีโอกาสพูดคุยเชื่อมโยงกันในภูมิภาคในวันนี้ เปรียบได้กับว่าพวกเรากำลังสร้างเส้นทางสายไหมยุคใหม่ โดยการเชื่อมโยงประเทศสมาชิก ACD แล้วโยงต่อไปยังภูมิภาคอื่น ผ่านระบบถนน ระบบทางรถไฟ การเดินเรือและการเดินทางทางอากาศ ซึ่งถือเป็นฮาร์ดแวร์หลัก อย่างไรก็ตาม ก็ต้องไม่ละเลย ซอฟต์แวร์ ซึ่งมีความสำคัญระดับเดียวกัน คำว่าซอฟต์แวร์ก็หมายถึง วัฒนธรรม ศาสนา อารยธรรมที่สืบเนื่องมาอย่างยาวนานของหมู่ประเทศสมาชิก ซึ่งทั้งสององค์ประกอบนี้จะช่วยสร้างให้เราได้เส้นไหมที่สุดพิเศษ ที่มีความยืดหยุ่นสูง สง่าและประเมินค่าได้ยาก

และขอถือโอกาสนี้เรียนเชิญทุกท่านร่วมเดินทางบนเส้นทางสายไหมยุคใหม่ ร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งบนถนนแห่งความเกียรติยศ ยิ่งใหญ่ และเจริญรุ่งโรจน์ตลอดไป

เชิญติดตามตอนต่อไป : เล่าให้ฟัง >> ทักษิณ..บินไปทั่วโลก 04, 05, 06, 07, 08, 09, 10, 11,