*..รอโหลดซักกะเดี๋ยว..*           ฝ่าวิกฤติการเมืองไทย..๒๕๔๙
. . . ร่วมด้วยช่วยกันเผยแพร่สื่อสารถึง"คนเสื้อแดง"ทั่วไทยและทั่วโลก . . . ขอขอบพระคุณเจ้าของclipภาพถ่ายและบทความทุกๆท่านที่กรุณาเอื้อเฟื้อแบ่งปัน . . .น้ำใจซื้อขายไม่ได้ แต่น้ำใจให้กันได้...อิอิ
คลิกที่นี่...ดูสด VoiceTV และ AsiaUpdate *..รอโหลดซักกะเดี๋ยวเตง..*
  

@ ปู้นนน...!!! คนเมืองใต้เจียงใหม่ของหมู่เฮาลงไปตางปู๊นนน..... * * * * * @ 2กุมภา..กาเบอร์ 15 ทั้ง ส.ส.เขต และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย
คลิกที่ภาพ...เพื่อดูขนาดที่ใหญ่ขึ้น @ New!! แจกปฏิทินนายกฯปู พ.ศ.2556 คลิกที่นี่...

คลิกที่ภาพ...เพื่อดูขนาดที่ใหญ่ขึ้น


คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

PlayListนี้ เริ่มต้นด้วย "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน" เรียงลำดับตั้งแต่ ตอนแรก ถึง ตอนปัจจุบัน ..ท้ายเพลย์ลิสท์เป็นคลิป "เมื่อศาลรัฐธรรมนูญกระทำขัดรัฐธรรมนูญ : จะทำอย่างไร?" วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2556 เวลา 13.00 - 16.00 น. ห้องกมลทิพย์ ชั้น 2 โรงแรมสุโกศล (สยามซิตี้เดิม) คลิปนี้..วิทยากร รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความคิดเห็นเริ่มนาที 0:14:24
คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...
หรือคลิกที่นี่.. @ AsiaUpdate "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน"

วันอังคารที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เพราะเรียนหมอ ไม่ใช่แค่อยากเรียนหมอ แต่ต้องอยากเป็นหมอ


เพราะเรียนหมอ ไม่ใช่แค่อยากเรียนหมอ แต่ต้องอยากเป็นหมอ
By: i-aeez in medicine Posted on 26 Oct 2009 20:15

ต่อไปนี้เป็นคำสารภาพ จากปลายนิ้วของคนธรรมดา บ้าๆบอๆที่บังเอิญมาเรียนหมอ

เท้าความกลับไปเมื่อไม่นานมานี้ (ประมาณ 3 ปีที่แล้วเอง) เราก็เป็นหนึ่งในเด็กหลายๆคนที่ทุกข์ทรมานกับการเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาของระบบการศึกษาไทย

ตอนนั้นเหมือนอนาคตมืดมน เพราะจับทางตัวเองไม่ถูก ไม่รู้ว่าชอบอะไร ไม่ชอบอะไร และเราเชื่อว่า มีเด็กหลายๆคนที่เป็นแบบนี้ จริงๆไม่ค่อยอยากจะว่าระบบของบ้านเราซะทีเดียว เพราะจริงๆมันก็ผิดที่เราเองด้วย

แต่ก็นะ เรายังก็แอบคิดว่าเด็กไทยเราถูกบังคับให้เดินตามกรอบมากเกินไป ถูกป้อนข้อมูลนู่นนี่นั่นที่ผ่านการประมวลจากผู้ใหญ่ที่คิดกันแล้วว่าดี(บ้างไม่ดีบ้าง)มากมาย ไม่ค่อยได้คิดวิเคราะห์ด้วยตัวเอง ประกอบกับประสบการณ์ในการผ่านโลกยังน้อยอยู่ จนทำให้เมื่อถึงทางแยกที่จำเป็นต้องเลือกอนาคตของตัวเอง เด็กหลายๆคน(รวมถึงเราเอง)เกิดอาการมึนตึบ ...... 'แล้วคุณๆจะให้เราเลือกอะไรยังไง ก็ที่ผ่านมาเราก็เดินมาตามกรอบมาตลอด ไม่เคยได้เลือกอะไรกับเขาเลย อยู่ๆวันดีคืนร้าย เราเรียนจบชั้น ม.6 ก็ ตู้ม! มีทางเลือกร้อยแปดมาให้ แล้วก็บังคับให้เราเลือกซะเดี๋ยวนั้น'

แน่นอน ความผิดพลาดที่ยิ่งใหญ่ย่อมเกิดได้ง่ายๆ เด็กหลายคนยังคงยึดแนวทางเดิมที่ปฏิบัติมาตั้งแต่วัยละอ่อน .... 'งั้นก็เอาตามสิ่งที่เค้าว่ากันว่าดีแล้วกัน!'

จากประสบการณ์ที่เคยผ่านมา ถึงใครๆจะว่าเด็กสมัยนี้โตพอที่จะเลือก จะคิดอะไรๆได้มากกว่าเมื่อก่อน แต่ถ้าถามเรา เรายืนยันเลยว่า ค่านิยมที่สังคมใส่ให้พวกเรามานี่ ยังคงสำคัญต่อการตัดสินใจของเราไม่น้อยเลยทีเดียว

เอาล่ะเข้าเรื่อง ที่พิมพ์มาทั้งหมดก็แค่จะโยงว่าวันนี้เราจะอัพentryนี้ขึ้น หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับน้องๆ(ถ้าบังเอิญกดเข้ามา) หรือเพื่อนๆ ถือว่าอ่านประดับความรู้แล้วกันนะ

เรียนหมอเค้าเรียนอะไรกัน?

เอาแบบคร่าวๆง่ายๆเลยแล้วกันนะ... การเรียนหมอ จะเรียนทั้งหมด 6 ปี (บางคนรู้แค่นี้ ฮาาาา) แบ่งคร่าวๆดังนี้ คือ

- ชั้นปี 1 : เป็นการเรียนพวก basic science ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ส่วนวิชาอื่นๆก็แล้วแต่มหาวิทยาลัยจะจัดให้(เลือก)เรียน บางคนอาจจะรวมปี 1 -2 -3 ไปในชั้น Pre-clinic เลย จริงๆคิดว่ามันก็ไม่ได้แบ่งแยกได้ชัดเจนขนาดนั้น เพราะได้ยินมาบ้างเหมือนกันว่าบางที่เรียนเนื้อหาทางการแพทย์บ้างพอควร

- ช่วงชั้น pre-clinic (ปี 2-3) : ก็คือก่อนจะขึ้นชั้นคลินิก เอาง่ายๆก็คือการเรียนความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ เพื่อเตรียมตัวก่อนที่จะขึ้นไปเรียนและปฏิบัติงานจริงในโรงพยาบาล รายละเอียดของหลักสูตรอาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละมหาวิทยาลัย หลักๆการเรียนความปกติและความผิดปกติต่างๆของร่างกาย รวมถึงการประยุกต์ความรู้เบื้องต้นเพื่อใช้ทางคลินิก(นิดหน่อย)

- ช่วงชั้น clinic : ศัพท์ในวงการว่า ขึ้นวอร์ด(ward) เป็นการเรียนร่วมไปกับการปฏิบัติงานจริงกับคนไข้ตัวเป็นๆไม่ใช่คนไข้ในกระดาษเหมือนเคย สิ่งที่ยากขึ้นมากคือคนไข้ในกระดาษจะมีข้อมูลทุกอย่างทำให้ง่ายต่อการวิเคราะห์(จริงๆก็ไม่ง่าย ฮาาาาา) ต่างกับคนจริงๆ ที่เราต้องถาม และสืบหาต้นตอเอาเองประหนึ่งนักสืบกันเลยทีเดียว นอกจากนี้ชั้นนี้จะต้องติดต่อกับคนหลายกลุ่มมากขึ้น ทั้งเพื่อนเอง อาจารย์หมอ รุ่นพี่ พยาบาล คนไข้ ญาติคนไข้ รวมถึงประชาชนทั่วไป เรียกว่านอกเหนือจากความรู้ทางวิชาการแล้ว ก็ต้องค่อยๆเก็บแต้ม สะสม skill กันมากพอควร

ในชั้นปี 4-5 จะแบ่งกลุ่มนักเรียนไปตามwardต่างๆ(หอผู้ป่วย) ซึ่งจะแบ่งเป็น minor และ major ward เอาให้เข้าใจง่ายขึ้น(รึปล่าว)ก็คือจะแบ่งเป็นแผนกๆ เช่น วอร์ดศัลยกรรม วอร์ดเด็ก ,... อะไรอย่างนี้

ส่วนชั้นปี 6 จะถูกอัพเลเวล เลื่อนขั้นขึ้นมา กลายเป็นนักเรียนแพทย์ขั้นสูงสุดคือ Extern ซึ่งเกือบจะเป็นหมอเต็มตัว ได้ปฏิบัติงานมากขึ้น ถูกคาดหวังมากขึ้น และต้องรับผิดชอบมากขึ้นไปอีก

นักเรียนแพทย์ใช้ชีวิตกันยังไง?

สำหรับ ชั้นปี 1 ค่อนข้างจะสบาย ใช้ชีวิตใกล้เคียงมนุษย์มหาวิทยาลัยมากที่สุด ขอข้ามไปแล้วกัน

พอขึ้นชั้น pre-clinic จะเรียนหนักขึ้นมากๆ เนื่องจากเนื้อหาเยอะ(มากกกกก!) บวกกับมีการทำ lab นู่นนี่มากมายทำให้ไม่ค่อยมีเวลา การเรียนในชั้นนี้จะเรียนไปทีละวิชา หรือเรียกกันว่าเรียนเป็นบล็อก บางมหาวิทยาลัย จบหนึ่งบล็อกก็จะสอบครั้งนึง แต่บางมหาวิทยาลัย(เช่น จุฬาฯนี่แหละ)จะเอาหลายๆบล็อกมาสอบรวมกันทีเดียว เป็นเป็น mid กับ final ซึ่งข้อดีข้อเสียก็จะต่างกันไป อย่าง ม.ที่สอบทันทีก็จะต้องอ่านเรื่อยๆแต่อ่านแต่ละครั้งจะไม่หนักมาก(จริงๆก็หนักนะ) แต่ ม.ที่รวบไปสอบทีเดียว อาจจะมีเวลาชิวบ้างในช่วงแรก แต่ใกล้สอบล่ะคุณเอ้ย........

ส่วนชั้น clinic อันนี้จากที่เราสังเกตและฟังมาจากพี่ๆ.. การเรียนในชั้นนี้จะหนักขึ้นกว่าเก่า จากที่หนักแล้วก็หนักขึ้นอีก ต้องมีความอดทน(และอดนอน) รวมถึงรับผิดชอบมากขึ้น นอกจากนั้นก็ต้องรับแรงกดดันให้ได้ บ่อยครั้งที่จะโดนอาจารย์หรือรุ่นพี่ติ(ใช้คำนิ่มไปนะเนี่ย 55 จริงๆเรียกกันว่า กินหัว) และเนื่องจากในชั้นนี้ต้อง deal กับผู้คน ทำให้อาจเกิดปัญหาทำให้ท้อใจได้ง่ายๆ สรุปว่ามันทั้งเหนื่อยกายและหนักใจ แต่มากน้อยก็แล้วแต่คน

จบแล้ว ไปไหน? (อ่านแล้วทะแม่งๆฟังคล้องๆกับตายแล้วไปไหน ฮาาา)

ไล่ step ไปเรื่อยๆแล้วกันนะ

- Intern : ก็คือแพทย์ใช้ทุน ซึ่งต้องใช้ทุนใน ตจว.ทั้งหมด 3 ปี (อาจทดแทนได้ด้วยทุนทรัพย์ ห่ะๆ)

- Resident : แพทย์ที่มาเรียนต่อเฉพาะทาง (ถ้าไม่เรียนก็จะกลายเป็น หมอGP:General Practice) เรียนกี่ปีก็จะต่างกันตามสาขาที่เลือก

- Fellow : แพทย์ผู้ช่วยอาจารย์ คือแพทย์ที่ต้องการจะเรียนต่อยอดในสาขาที่ตัวเองเรียนไปอีก

- Staff : อาจารย์แพทย์

บางคนอาจะหยุดตัวเองตั้งแต่เรียนจบ จ่ายเงิน แล้วกลับไปใช้ชีวิตของตนต่อไป บางคนอาจหยุดเมื่อจบ intern, resident อาจทำงานในโรงพยาบาล เปิดคลินิก หรืออาจจะต่อเป็นอาจารย์แพทย์ก็สุดแต่ใจจะไขว้คว้า

สรุปสิ่งที่ควรรู้ก่อนตัดสินใจจะเรียนหมอ (เท่าที่นึกออก).. สำหรับคนที่อยากเรียนหมอ เพื่อเป็นหมอ

- หมอเรียนหนักจริงๆไม่ติงนัง

- การปฏิบัติงาน หรือการทำแลป(สำหรับเรา)มันยากนะเนี่ย

- เรียนหมอไม่ใช่ไม่มีเวลากระดิกตัวไปทำอย่างอื่นเลยซะทีเดียว ถ้ารู้จักแบ่งเวลาก็จะมีเวลา

- เวลาที่ว่าจะน้อยลงเรื่อยๆตามปีที่สูงขึ้น

- และเนื่องด้วยเวลาที่น้อยลง ทำให้เราตัดขาดโลกภายนอกมากขึ้น

- ที่พูดมา เรื่องเวลามันก็แล้วแต่คนด้วยล่ะนะ

- เรียนหมอต้องขยัน!

- เรียนหมอต้องอ่านหนังสือเยอะ และสอบเยอะเช่นกัน

- เรียนหมอต้องอดทน

- เรียนหมอต้องอดนอน (นอนไม่เป็นเวลา)

- เรียนหมอต้องรับผิดชอบ

- เป็นหมอได้รับเกียรติแต่ต้องแลกกับการเสียสละ

- สภาพสังคมในการเรียน รวมถึงเมื่อเป็นหมอจริงๆค่อนข้างกดดันนะเออ เพราะสิ่งที่เราเรียนมันเรียนและเอามาใช้จริงจะเล่นๆไม่ได้ เราจะมาเล่นๆกับชีวิตคนไม่ได้

- ถ้าคุณไม่ชอบสังคมแบบนี้อาจจะลำบากสักหน่อย เพราะยังไงๆก็ต้องอยู่ในสังคมแบบนี้ เพราะน้อยนักที่จะได้มีเวลาไปเข้าสังคมอื่นๆกับเค้า

- ไม่เชื่อ ลองสังเกตดูว่า หมอมักแต่งงานกับหมอ พยาบาลหรืออะไรเทือกนี้ และมีลูกเป็นหมอ และสืบทายาทวงตระกูลหมอต่อไป (ยังกับทายาทอสูร)

- ข้อข้างบนก็ไม่ทั้งหมด

- สังคมที่ว่าก็ไม่ได้แย่นัก มีสิ่งที่ดีมากมายแล้วแต่เราจะมองและเลือกที่จะอยู่กับด้านๆไหน

- หมอเป็นวิชาชีพที่ได้ช่วยเหลือคน เราจะภูมิใจ มีความสุข และหายเหนื่อยเมื่อทำให้ใครสักคนหายจากโรค

- แต่ถ้าคุณไม่อยากเป็นหมอ ก็ไม่มีความจำเป็นที่ต้องมาเรียนหมอ อาชีพที่ได้ช่วยเหลือคนมีเยอะแยะไป หรือถ้าอยากจะทำความดี ไม่เห็นจะต้องเป็นหมอเลย จริงมั้ย?

- สำหรับคนที่อยากจะเป็นหมอเพราะครอบครัวอยากให้เป็น ถ้าตัวเองไม่อยากเป็นจริงๆก็อย่าเป็นเลย

- เชื่อเถอะว่าถ้าเราไม่มีความสุขในการเรียน พ่อแม่ก็ไม่ได้มีความสุขหรอก

- สู้เราไปเรียนในสิ่งที่เรารัก ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข เป็นคนดี ทำให้พ่อแม่เชื่อและภูมิใจในตัวเรา อย่างนี้ดีกว่า!

- พญ มี%ไร้คู่สูงเมื่อเทียบกับคนทั่วไป (อะไรนะ.. ไม่ใช่ประเด็นหรอเนี่ย 55)

- สุดท้าย เรียนหมอมีความสุขได้ ถ้าเรารักที่จะเป็นหมอ

สำหรับน้องๆที่อยากเรียนหมอ ลองถามตัวเองให้แน่ใจอีกครั้งว่าเราอยากเรียนเพราะอะไร? ลึกๆแล้วเราอยากจะเป็นหมอจริงรึเปล่า?

ถ้าตอบคำถามนี้ได้ แล้วพร้อมที่จะเรียนหมอเพื่อเป็นหมอจริงๆ จะไม่มีอะไรต้องหวั่น ลุย!

การเรียนหมอไม่ใช่สิ่งที่เกินความสามารถของทุกคน แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะเรียนได้อย่างมีความสุข

สิ่งหนึ่งที่นักเรียนแพทย์จำเป็นต้องมีคือใจรัก ถ้ารักจะเป็นหมอ คุณจะสามารถผ่านทุกๆอย่างไปได้ แล้วคุณจะภูมิใจในเส้นทางทางนี้ที่เลือกเดิน

มีน้องๆมาถามเหมือนกันว่า กลัวผีมากๆจะเรียนหมอได้มั้ย

ถ้าเกิดน้องได้มาอ่านentryของพี่วันนี้ จะรู้ว่าจริงๆแล้ว การเรียนหมอมันมีอะไรมากมายกว่าผีเยอะ!

เพราะเรียนหมอ ไม่ใช่แค่อยากเรียนหมอ แต่ต้องอยากเป็นหมอ


10 ความจริง ชีวิตนักเรียนแพทย์ (Pre-Clinic)
By: i-aeez in medicine Posted on 15 Jun 2009 22:27

หลังจากใช้ชีวิตเป็นนักเรียนแพทย์ มาจนเข้าสู่ปีที่ 3 ยอมรับว่าชีวิตเปลี่ยนแปลงไปเยอะเหมือนกัน ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะต้องออกจากบ้านเกิดเมืองนอน มาพำนักพังพิง ณ เมืองหลวง เพียงลำพัง (ฟังดูรันทดยังกะเด็กขมเข้าบ้านพุทธชาด) บวกกับการที่ต้องเข้ามาทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่ๆทั้งหมด ต้องเรียนรู้สังคมที่ต่างออกไป ทำให้ต้องปรับตัวเยอะมาก และวันนี้ เราก็ค่อนข้างเสถียรพอสมควร (หรอ?) พอลองนึกย้อนกลับไปตอนเด็กๆ ........ ไม่ควรพูดอย่างนี้สินะ ........... เอาใหม่ ... พอลองนึกย้อนกลับไปตอนที่เรายังไม่เข้ามายืนหายใจอยู่ในคณะนี้ พบว่าตอนนั้น เรายังไม่รู้ความจริงหลายๆอย่าง

เมื่อก่อน เรามองว่านักเรียนแพทย์ต้อง บ้าเรียน คุยกับคนอื่นไม่รู้เรื่อง ตัดขาดความบันเทิง บลาๆๆ .... ยังคิดอยู่ว่า... คนที่เสพละครเป็นนิจ เสพเน็ตประหนึ่งลมหายใจอย่างเรา จะเรียนได้หรอวะ ........ แต่ตอนนี้ก็พบว่า มันถูกแค่ส่วนนึงเท่านั้นเอง

ว่าแล้วก็มารู้จักกับนักเรียนแพทย์กันให้มากขึ้นสักหน่อย (ขอพูดถึงเฉพาะปี 1-3 หรือชั้น pre-clinic ละกันนะ)

1. นักเรียนแพทย์ปี 1 เป็นปีที่มีความใกล้เคียงกับเด็กมหา'ลัยมากที่สุด : ที่พูดอย่างนี้เพราะตั้งแต่ปี 2 เป็นต้นไป นักเรียนแพทย์จะไม่ค่อยใช้ชีวิตเหมือนเด็กมหา'ลัยทั่วๆไป ... เรียกว่าเป็นปีที่ต้องเก็บเกี่ยวชีวิตนิสิต นักศึกษา(ปกติ)ให้ได้มากที่สุด ชั้นปีนี้จะได้เรียนวิชานอกคณะ ได้เจอเพื่อนๆต่างคณะ (คือ ถ้าใครตั้งใจจะคิดคบสนมสนิทกับเพื่อนต่างเพศนอกคณะ ก็รีบๆคว้าไว้ตั้งแต่ปีนี้ 55) ถ้าอยู่จุฬาฯจะรู้ว่า คณะแพทย์ฯอยู่นอกรั้วจุฬาฯใหญ่ (นั่นคือ ถูกตัดขาดจากคณะอื่น) ... ซึ่งปี 1 เป็นปีเดียวที่ได้เดินเพ่นพาน และใช้ชีวิตนอกคณะมากกว่าในคณะตัวเอง จนบางทีก็เกือบลืมไปแล้วว่า "กุเรียนหมอ"

2. อาจารย์ใหญ่ ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด : เมื่อก่อน ถ้าถามถึงการเรียนหมอ สิ่งแรกที่นึกถึงคือ "อาจารย์ใหญ่" ซึ่งพอได้เข้ามาเรียนจริง ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ารายวิชากายวิภาคฯ หรือ Anatomy เป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียนหมอ แต่ก็เป็นแค่ส่วนหนึ่ง ยังมีอะไรอีกมากมายก่ายหน้าผากให้ต้องศึกษา.... และแน่นอนเมื่อพูดถึงอาจารย์ใหญ่ คนส่วนใหญ่มักจะกลัวกัน... ในครั้งแรกที่ได้เรียน สารภาพด้วยเกียรติของยุวกาชาดว่า "กลัว" ..... แต่พอเวลาผ่านไป ความกลัวเปลี่ยนเป็นความเคารพ .. จนตอนนี้ เราก็ตอบไม่ได้ว่าถ้าไม่มีอาจารย์ใหญ่ ในแต่ละปี จะสามารถผลิตแพทย์ที่มีคุณภาพออกมาได้สักคนรึปล่าว...... ถ้าจะพูดกันจริงๆ อาจารย์ใหญ่ ไม่ได้มีพระคุณเฉพาะกับพวกเรานักเรียนแพทย์ แต่มีพระคุณต่อทุกคนที่นั่งๆนอนๆอยู่บนโลกร้อนๆใบนี้.......... หรือจะปฏิเสธว่าชีวิตนี้ไม่เคยไปหาหมอ ??? .............

3. ความหลากหลายในคณะ : คณะแพทย์ฯก็เป็นสังคมๆหนึ่ง ย่อมมีความหลากหลายทั้งด้านกายภาพ ชีวภาพ เคมี สังคม ภาษาไทย ... (ไม่ใช่แระ ) ใครที่คิดว่านักเรียนแพทย์มีแต่พวกเนิร์ดๆ หน้าตาประหนึ่งว่ากุเกิดมาเพื่อสิ่งนี้ ความเป็นหมอมันฝังตัวอยู่ในพันธุกรรม และแสดงphenotypeออกมาให้เห็นผ่านใบหน้า .. คุณคิดผิด! .... ถ้าไม่เชื่อ ว่างๆลองเข้ามาเดินเล่นในคณะแพทย์ฯ จะพบตั้งแต่ นางฟ้า ยัน............ เพื่อนนางฟ้า 555 (ก็เป็นเพื่อนมันจริงๆหนิ )

นั่นแค่ประเด็นของหน้าตา อีกเรื่องที่คนทั่วไปมองนักเรียนแพทย์คือ เรื่องความฉลาด .... จริงๆแล้ว ใช่ว่านักเรียนแพทย์ทุกคนจะเก่งเว่อกว่าชาวบ้าน (อย่างเราอาจจะต่ำกว่ามาตรฐานมนุษย์ทั่วไปด้วยซ้ำ เหอะๆ)

อย่างในคณะแพทย์ฯ จุฬาฯก็มีการแบ่งชนชั้นวรรณะในเรื่องนี้ไว้ 3 ชนชั้น คือ เทพ, ชนชั้นกลาง, และแกะ........

เทพ... กลุ่มหัวกะทิของคณะ ... กลุ่มนี้ต้องยอมรับมัน เอ้ย ท่าน .... ว่าแล้วก็ บูชาาาา

ชนชั้นกลาง.. สามัญชนทั่วไปในคณะ ใช้ชีวิตเยี่ยงคนปกติทุกประการ

แกะ.. (ชนชั้นเราเอง) .. เป็นชนชั้นที่ต้องดิ้นรนมากในช่วงใกล้สอบ เพราะถ้าไม่ใกล้สอบแกะจะไม่มีจิตใจฝักใฝ่ทางบุ๊นสักเท่าไหร่ (ที่มาของแกะคือการนอนนับแกะในเวลาเรียน) อย่างไรก็ตามแกะก็ถือเป็นรากฐานที่สำคัญของคณะเลยทีเดียว (พูดง่ายๆคือเป็นพื้นให้เหยียบตลอด)

4. แกะในใบจาม : เป็นคำไวพจน์ (ประโยค??? ...... เออ ช่างมันเหอะ) ของ "กบในกะลา" .... ด้วยการเรียนที่หนัก(โคตร) ทำให้นักเรียนแพทย์ค่อยๆถูกตัดขาดจากโลกภายนอกทีละน้อยๆ ตั้งแต่ปี2ขึ้นไป นักเรียนแพทย์จะต้องเรียนแต่วิชาคณะ ตั้งแต่เช้ายันเย็น หรือ โคตรเช้ายันตะวันตกดินในบางวัน แม้แกะบางตัวจะสังคมขนาดไหน แต่ขึ้นชื่อว่าเป็นนักเรียนแพทย์แล้ว ยังไง๊ ยังไง ก็ปฏิเสธข้อนี้ไม่ได้ แต่ละวันก็จะเจอแต่เพื่อน พี่ น้อง ในคณะ เรียกว่าเวลาที่จะไปพบปะกับเพื่อนต่างคณะน้อยลงทุกทีตามชั้นปีที่สูงขึ้น .... ฉะนั้น นักเรียนแพทย์อาจโดนเพื่อนต่างคณะเลิกคบได้ทุกเมื่อ...

เพื่อนต่างคณะ : เอ้ย วันจันทร์เลี้ยงน้องจังหวัดนะ 4โมงเย็น มาให้ได้นะแก
นักเรียนแพทย์ : เออน่า เด๋วเราไปก่อนเวลาสักครึ่ง ช.ม.เลยเป็นไง ฮ่าๆๆ

วันจันทร์....
16:00 น.
เพื่อนต่างคณะ : ไหนว่าจะมาก่อนเวลาไง
นักเรียนแพทย์ : เดี๋ยวแปบนึงนะ เรายังผ่าอาจารย์ใหญ่ไม่เสร็จเลยอะ

16:30 น.
เพื่อนต่างคณะ : เสร็จยังวะ อย่าบอกนะว่าไม่มา ปีที่แล้วก็ชิ่งทีนึงแล้ว
นักเรียนแพทย์ : เออ บอกว่าไปก็ไปดิ แค่นี้ก่อนนะเว้ย คุยลำบาก ต้องถอดถุงมือ

17:00 น.
เพื่อนต่างคณะ : เฮ้ย เค้ารอเมิงคนเดียวเนี่ย จะมามั้ย จะได้ให้น้องเค้ากินๆกันก่อน
นักเรียนแพทย์ : เออๆ เมิงให้เค้ากินกันเลย กุน่าจะสาย (ได้ข่าวว่าสายอยู่แล้ว) เสร็จแล้วเดี๋ยวกุโทรไป.........

19:00 น.
เพื่อนต่างคณะ : โทษทีที่กุโทรมาก่อน คือเค้าเสร็จกันแล้ว เมิงจะมาเจอพวกกุป่ะ
นักเรียนแพทย์ : เออเมิง โทษทีว่ะ อาจารย์เพิ่งบอกว่าพรุ่งนี้quiz กุคงต้องอ่านหนังสือ
เพื่อนต่างคณะ : ไอ้.....

อย่างไรก็ตาม วันว่างๆหลังสอบ หรือช่วงที่ไฟไม่ลนก้นก็สามารถไป hang out กับเพื่อนๆได้บ้างนะ 555

5. มักไม่ค่อยเสียดุลให้เด็กต่างคณะ : จากผลพวงของข้อที่แล้ว นักเรียนแพทย์ส่วนใหญ่มักใช้เวลาอยู่ในคณะตัวเอง ไม่ค่อยมีเวลาออกไปพบปะผู้คนสักเท่าไหร่ จากเดิมที่เคยเสียดุลให้ต่างคณะก็เปลี่ยนไป โดยเฉพาะสาวๆที่มีแฟนอยู่คณะอื่น พอเริ่มไม่มีเวลาให้ หนุ่มๆก็จะเริ่มหายหน้าไปอย่างช้าๆ ถ้าไม่รักหนักแน่นเหมือนเพลงพี่เบิร์ดก็เป็นอันต้องลงท้ายด้วย "เราเป็นเพื่อนกันเถอะ" ทุกครั้งไป และสุดท้าย พอเริ่มเรียนไปเรื่อยๆ เจอคนหน้าเดิมๆซ้ำๆ ทุกวันๆ ก็เกิดอาการ "เพื่อน กุรักมึงว่ะ" (อันนี้ใช้ได้กับทุกเพศ ) เพราะนอกจากจะไม่มีใครให้มองแล้ว คนในคณะยังเข้าใจกันดีอีกด้วย .... แต่ทุกเรื่องย่อมมีข้อยกเว้น .. ปัจจุบัน ยังมีคู่รักหนักแน่นหลายคู่ที่แม้จะเป็นเด็กต่างคณะแต่ก็ยังอยู่ทนอยู่นานมาจนถึงทุกวันนี้

และจากสถิติ.. พบว่านักเรียนแพทย์ชาย ยังคงเป็นที่สนใจของสาวๆ(และหนุ่มๆ?)คณะอื่นอยู่พอสมควร (ช่างต่างกับนักเรียนแพทย์หญิง ) ฉะนั้น ... เหล่า XY (หรือ XXY) ไม่ต้องกลัวจะขึ้นคานนะจ๊ะ 55

6. สายรหัสผูกพัน สายสัมพันธ์ชั้นปี : ไม่แน่ใจว่าทุกมหา'ลัยจะเหมือนกันรึปล่าว แต่เท่าที่รู้ๆมา ทั้งจากที่จุฬาฯเองและจากเพื่อนนักเรียนแพทย์ ม.อื่นๆ... พบว่า คณะแพทย์ฯ เป็นคณะที่มีความผูกพันกันในสายรหัสมากที่สุดคณะหนึ่ง โดยไม่ได้สนิทกันเฉพาะชั้นปีที่ติดๆกันเท่านั้น แต่นักเรียนแพทย์ทุกคนจะถูกปลูกฝังให้รักน้องพี่ในสายรหัสเป็นอย่างมาก จะมีการช่วยเหลือเกื้อกูล และปรึกษาหาเรื่อง เอ้ย หารือ (มันจะเล่นทำไมเนี่ยมุกนี้ ) กันตลอดเวลา น้องๆชั้นปี1-5ก็จะได้รับมรดกตกทอดจากพี่ๆปีสูงกว่าจากรุ่นสู่รุ่น ประหนึ่งเป็นทายาทอสูร ไม่เว้นแม้กระทั่งพี่ปี 6 ที่จะจบแหลไม่จบแหล (ฟังดูแปลกๆ เหอะๆ) ในบางสายรหัสก็จะมีพี่สายที่จบไปแล้วค่อยฝากของมาให้อยู่เนืองๆ

รวมทั้งเทศกาลล้มทับพี่รหัส หรือการเลี้ยงสายก็จะต้องจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี น้องเล็กของสายก็จะอิ่มหนำสำราญเป็นพิเศษ ถ้าเป็นที่จุฬาฯ น้องปี1ในคณะจะได้รับการเลี้ยงจากพี่ๆในสายอย่างเป็นทางการรวม 8 ครั้ง (บวกลบ 2 แล้วแต่สายรหัส) นอกจากนี้อาจมีการเลี้ยงจากอาจารย์ที่ปรึกษาสายรหัสอีก 1 หรือ 2 ครั้ง นี่ยังไม่รวมการเลี้ยงอย่างไม่เป็นทางการในกรณีที่พี่คนไหนกระเป๋าหนักเป็นพิเศษ หรือถ้าโชคดีก็อาจมีพี่สายที่จบไปแล้ว นึกอยากจ่ายตังค์ขึ้นมาอย่างไม่มีเหตุผล ก็ทำให้น้องๆลดค่าอาหารลงได้อีกหลายสตางค์เลยทีเดียว

สาเหตุที่ทำให้สายรหัสมีความผูกพันกันมากเป็นพิเศษ (นอกจากการได้รับประโยชน์จากการกินแล้ว) ประเด็นสำคัญอาจมาจากเรื่องเรียนที่หลายครั้งต้องอาศัยความช่วยเหลือจากพี่ๆ รวมถึงการใช้ชีวิตวนเวียนในคณะก็ทำให้มีโอกาสเจอกันได้บ่อยๆ

นอกจากความผูกพันในสายรหัสแล้ว นักเรียนแพทย์ในแต่ละชั้นปียังมีความสนิทสนมกันมาก ด้วยจำนวนที่ไม่มาก(แต่ก็ไม่น้อย) ประกอบกับการเรียนในคณะที่จะแตกต่างจากคณะอื่นๆ คือจะเรียนไปพร้อมๆกันในทุกๆวิชา ตลอดวัน ตั้งแต่ต้นเทอมยันจบเทอม (ยังกะเด็กประถม) ไม่มีการแยกไปเรียนที่นั่นที่นี่เหมือนคณะอื่นๆ (ยกเว้นชั้น clinic ที่ต้องแยกตามวอร์ด) จึงทำให้นักเรียนแพทย์ชั้นปีเดียวกันอยู่ด้วยกันแทบจะตลอดเวลา ทำให้รู้จักกันทั้งหมด (หลายคนบอกว่า เป็นเพราะถูกเพื่อนกลุ่มอื่นเลิกคบไปแล้ว เลยจำเป็นต้องคบกันเอง)

7. นักเรียนแพทย์เป็นคนธรรมดา ที่เมื่อถึงเวลาเนิร์ดก็(จำเป็นต้อง)เนิร์ดได้ : แม้การเรียนจะหนักเพียงใด แต่นักเรียนแพทย์ก็คือคนปกติทั่วไป ที่ยังคงต้องเสพสิ่งบันเทิง และมีอารมณ์ขี้เกียจได้ (บ่อยๆ) ในบางราย (เช่นเราเอง เหอะๆ)ก็จะชิวววว~~~~~ ไปเรื่อยๆ กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็กางเกงไหม้ไปครึ่งก้นแล้ว แต่ระดับความขี้เกียจในแต่ละคนก็ใช่ว่าจะเท่ากัน ... คำว่า "ยังไม่ได้อ่าน"ของนักเรียนแพทย์คนหนึ่ง อาจหมายถึงการ "อ่านอย่างตั้งใจ" ของนักเรียนแพทย์อีกคนหนึ่งก็เป็นได้ ฉะนั้นในหลายๆครั้ง นักเรียนแพทย์ควรใช้วิจารณญาณในการตีความคำพูดของเหล่าทวยเทพให้ดี เพราะถ้าเผลอตัว หรือตั้งใจคิดเข้าข้างตัวเอง อาจเกิดอาการ"ดินพอกหางแกะ"ได้

อย่างไรก็ตาม พบว่า นักเรียนแพทย์ทุกคนที่จบไปเป็นหมอได้ ต้องมีความรับผิดชอบต่อตัวเองสูงอยู่พอตัว คืออย่างน้อยๆจะต้องสามารถประมาณความสามารถตัวเอง และแบ่งเวลาในชีวิตได้ ไม่ใช่ว่าจะปล่อยตัวปล่อยใจจนเสียการเรียน

8. นักเรียนแพทย์หญิง มักจะหาเพื่อนรู้ใจใกล้ๆคุณ (ไม่ใช่ 7-11 ... แป้กก็เอาวะ) ยากกว่าสาวๆคณะอื่น : เมื่อเทียบคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกัน ทั้งรูปร่าง หน้าตา นิสัย ชาติตระกูล เศรษฐานะ ความแอ๊บแบ้ว ... หรืออะไรก็ตาม ระหว่างสาวคณะแพทย์ กับสาวคณะอื่นๆ พบว่า แม้จะมีลักษณะเหมือนๆกัน แต่นักเรียนแพทย์หญิงกลับมีเปอร์เซ็นต์การปลดระวางจากคานทองน้อยกว่าคนทั่วไปอย่างน่าใจหาย! เป็นที่น่าสลดใจที่สาวคณะแพทย์เหล่านี้แทบไม่ได้รับการตามจีบอย่างจริงๆจังๆจากหนุ่มๆเลย อาจเพราะส่วนใหญ่ถูกมองว่าเก่งเกินไป (มันไม่ใช่ความจริงทั้งหมด ) ซึ่งถ้าฝ่ายชายไม่คิดว่าตัวเองมีดีระดับนึงก็จะไม่ค่อยกล้าเข้าหา หรือหนุ่มบางรายก็มองว่าสาวเจ้าไม่มีเวลาให้ตัวเองเลย....

ความจริงข้อ8นี้ถ้าใครไม่เชื่อ ลองเดินถามผู้ชายแท้ๆสัก 10 คนว่า ถ้าจะให้จีบสาวสักคนมาเป็นแฟนอย่างจริงๆจังๆ คนนึงเรียนหมอ อีกคนนึงเรียนบัญชี, อักษร, นิเทศ.... แล้วลองนับดูว่าคนส่วนใหญ่จะเลือกจีบใคร

9. ไม่ควรถามเรื่องโรคภัยไข้เจ็บกับนักเรียนแพทย์ชั้น pre-clinic : คนทั่วไปพอรู้ว่าเป็นนักเรียนแพทย์ เรื่องส่วนใหญ่ที่มักจะถามกัน หนีไม่พ้นเรื่องโรคภัยไข้เจ็บต่างๆนานา เพราะคาดหวังว่า มันเรียนหมอ ก็ต้องรู้สิวะ ...... แต่จริงๆแล้ว นักเรียนแพทย์ในชั้น pre-clinic เกือบทั้งหมดยังไม่มีความรู้มากพอที่จะแนะนำการรักษาได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ทำได้อย่างมาก็แค่วิธีเบื้องต้นเท่านั้น (บางรายอาจยังบอกอะไรไม่ได้เลย.... เพราะเรียนมาก็ลืมๆหมด ) เพราะชั้นปี1-3เรียนแค่ทฤษฎี ยังไม่ลงลึก และยังไม่เคยรับเคสรักษาคนไข้มาก่อน

เพื่อนต่างคณะ : แม่ นี่เพื่อนหนูเอง เรียนหมออะ

แม่เพื่อน : เรียนหมอด้วยหรอลูก พอดีเลย เนี่ยคุณยายเค้าเป็นกรดไหลย้อน มันอันตรายมากมั้ยลูก

นักเรียนแพทย์ : (เอ๋อไปพักนึง ก่อนที่จะพยายามเคาะสนิม ดึงความรู้ที่มีทั้งหมดเกี่ยวกับกรดไหลย้อนออกมาพูด) .... เอ่อ.... คือ.. จากที่หนูเรียนมานะคะ อาจารย์เค้าบอกว่า.... กรดไหลย้อนเกิดจากการที่กรดในกระเพาะอาหาร มันไหลกลับขึ้นไปทางหลอดอาหาร .... เพราะว่า esophageal sphincter .... เอ่อ .... หมายถึง หูรูดที่หลอดอาหารกับกระเพาะอะคะ มันหลวมเกินไป (อาจมีการเผลอหลุดศัพท์ประหลาดออกมา อย่าคิดว่าต้องการโชว์ภูมิแต่อย่างใด จริงๆแล้วเกิดจากการท่องหนังสือไปสอบ)

แม่เพื่อน : (เริ่มรู้สึกว่ามันตอบไม่ตรงคำถาม แถมยังมาพ่นอะไรก็ไม่รู้ให้ฟังอีก) เอ่อ...แล้วตกลงมันอันตรายมั้ยล่ะลูก

นักเรียนแพทย์ : คือมันก็อาจทำให้ เอ่อ.... ... อ๋อ ... ทำให้เกิดการแสบหรือเจ็บหน้าอก บางทีก็มีรสเปรี้ยวที่คออะค่ะ

แม่เพื่อน : (รู้สึกว่ามันก็ยังตอบไม่ตรงคำถามอยู่ดี เลยเริ่มเปลี่ยนคำถามใหม่) แล้วลูกรู้มั้ยว่ารักษายังไงดี เนี่ยหมอเค้าให้ยาแล้วก็ก็ไม่ค่อยจะดีขึ้นเลย

นักเรียนแพทย์ : (หมอให้ยาไม่หาย แล้วหนูจะช่วยได้มั้ยเนี่ย ) หนูก็ไม่แน่ใจนะคะ แต่เท่าที่รู้ การรักษาด้วยยาก็น่าจะช่วยลดกรดได้ ... ..... ส่วนการรักษาอื่นๆเนี่ย อาจจะใช้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งหนูก็ไม่ค่อยแน่ใจเท่าไหร่ว่าควรจะลดหรือเพิ่มอะไรยังไง ....... อ๋อ......... เหมือนจะมีการผ่าตัดด้วยนะคะ น่าจะช่วยบีบให้หูรูดกระชับขึ้น แต่หนูก็ไม่ค่อยแน่ใจอีกเหมือนกัน ........

เพื่อนต่างคณะ : หนูว่าแม่ไปถามหมอดีกว่า 555

10. นักเรียนแพทย์ชั้น pre-clinic ส่วนใหญ่ยังไม่รู้สึกว่าตัวเองใกล้เคียงกับความเป็นหมอ : ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่า นักเรียนแพทย์ส่วนใหญ่ในชั้น pre-clinic ซึ่งแม้จะเป็นชั้นที่ผ่านการเรียนกายวิภาคฯกับร่างท่านอาจารย์ใหญ่มาแล้ว หรือผ่านการทำแลบมาแล้วมากมายก็ตาม แต่หลายคนก็ยังมองภาพตัวเองภายใต้คำนำหน้าชื่อว่านายแพทย์หรือแพทย์หญิงกันไม่ค่อยออก นักเรียนแพทย์หลายคนยังเกิดความครางแครงใจว่า อย่างกุ จะเป็นหมอได้จริงๆหรอ (รวมทั้งเราก็เกิดความคิดนี้ด้วย ฮ่าๆๆ)

แต่ช้าก่อนท่านทั้งหลาย อย่าได้กังวลกับอนาคตของแพทย์ไทย... เพราะถ้าพี่รหัสไม่หลอกเรา ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เมื่อนักเรียนแพทย์เหล่านี้ขึ้นชั้น clinic ได้ใช้ชีวิตอยู่ในโรงพยาบาล พบกับผู้ป่วยจริงๆ เค้าเหล่านั้นก็จะรู้สึกถึงความเป็นหมอมากขึ้นๆเอง ...........

หวังว่าจะเป็นเช่นนั้น


เรื่องต้องรู้...เกี่ยวกับยา(ที่เข้าใจว่า)แก้อักเสบ!!!!!
By: i-aeez in medicine Posted on 08 Aug 2009 14:24

วันนี้ขอทำตัวเป็นเจ้าของบล็อกมีสาระสักวัน ด้วยการ up entry สร้างสรรค์สังคมที่สุดตั้งแต่เคย up มาในชีวิตนี้ (มันจะเว่อร์ไปไหน)

คำเตือน : entry วันนี้อาจทำให้ทุกท่านปวดเศียรเวียนเกล้า เลือดลมไหลเวียนไม่สะดวก เนื่องจากเนื้อหาค่อนข้างเป็นวิชาการ ... อาจจะงงเล็กน้อย ถึง มากหรือมากที่สุด

หมายเหตุ : คำเตือนข้างบนล้อเล่น ไม่งงขนาดน้าน(มั้ง) อิอิ

มาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า พอดีช่วงอาทิตย์ก่อนสอบเราเรียนรายวิชาเภสัชวิทยาเรื่อง การใช้ยาอย่างสมเหตุผล ซึ่งตอนแรก .. เราก็ไม่ได้คิดจะสนใจอะไรมากเท่าไหร่ (เป็นปกติ...) แต่พออาจารย์พูดปุ๊ป เราก็รู้สึกว่า เห้ย มันมีประโยชน์มากจริงๆ! มีประโยชน์ถึงขนาดที่คนไร้สาระอย่างเราเก็บไว้ใช้แค่ตอนสอบไม่ไหว ต้องเอามากระจายให้ได้รับประโยชน์ทั่วๆกัน (แม้จะมีคนอ่านไม่กี่คนก็ตาม ฮ่าๆ)

"เพื่อนๆรู้จักยาปฏิชีวนะกันมั้ย?"

ตอบตามตรงว่า ตอนเด็กๆเราก็ไม่รู้จักมันเหมือนกัน รู้แค่ชื่อมันน่ากลัวจังเลยว่ะ แต่ถ้าเราเปลี่ยนคำถามเป็น "เพื่อนๆรู้จักยาแก้อักเสบกันมั้ย?" เราเชื่อว่า คงไม่มีใครตอบว่าไม่รู้จัก และคิดว่าบางคนอาจจะกินบ่อยถึงขนาดจำชื่อตัวยาได้เลย

จริงๆแล้ว ยาแก้อักเสบที่เราๆเข้าใจกัน มันก็คือยาปฏิชีวนะที่ชื่อน่ากลัวๆนั่นเอง
และที่สำคัญมันไม่ได้น่ากลัวแค่ชื่อเท่านั้นนะ แต่มันน่ากลัวจริงๆ

ยาปฏิชีวนะ หรือ Antibiotics เรียกอีกอย่างนึงที่ฟังดูจะสื่อความหมายได้มากกว่าก็คือ ยาต้านแบคทีเรีย (Antibacterial drugs) ซึ่งก็คือยาที่ใช้ฆ่าหรือยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียนั่นเอง

อันตรายอย่างแรกของเจ้ายาตัวนี้ก็คือ มันเป็นยาปฏิชีวนะ แต่ทุกคนมักเข้าใจกันว่ามันเป็นยาแก้อักเสบ ซึ่งการอักเสบ มันเกิดได้จากหลายสาเหตุทั้งจากสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็น แบคทีเรีย, ไวรัส, เชื้อรา ฯลฯ และสิ่งไม่มีชีวิต ไม่ว่าจะเป็น สารเคมี, รังสี, อุณหภูมิ ฯลฯ

ลองนึกภาพ ถ้าเราเอาบัตรรถไฟฟ้า ไปใช้ขึ้นรถไฟใต้ดิน... เช่นเดียวกัน ถ้าเราเอายาต้านแบคทีเรีย ไปใช้กับไวรัส, รา, ... มันจะใช้กันได้รึปล่าว??

ที่จะบอกต่อไปก็คือ ยาทุกตัวมีทั้งประโยชน์และโทษ ซึ่งในการผลิตยาก็จะพยายามทำให้เหมาะกับคนส่วนใหญ่มากที่สุด นั่นคือ เกิดประโยชน์มากที่สุด และเกิดโทษน้อยมากๆกับคนทั่วไป

แน่นอนว่าไม่มี 100% ทางการแพทย์ ขนาดใช้ยาถูกยังมีโอกาสเกิดผลข้างเคียง แล้วถ้าใช้กันไม่ถูกต้อง นอกจากจะไม่เกิดประโยชน์แล้ว ยังอาจเกิดผลร้ายที่ไม่คาดคิดได้อีกด้วย

A : ปวดข้อว่ะ
B : ไปหายาแก้อักเสบกินสิ

C : เจ็บคออะ คอแดงเลยเนี่ย
B : คออักเสบแล้วล่ะ กินยาแก้อักเสบดีกว่านะ

D,E,F,... : ปวดนู่น, บวมนี่
B : กินยาแก้อักเสบดิแก

จากข้างบนไม่ได้ต้องการจะสื่อว่า B ผิด เพราะถ้าเป็นเราก็อาจจะวิ่งไปหายาพวกนั้นมากินเหมือนกัน ก็เข้าใจว่ามันเป็นยาแก้อักเสบ ก็ต้องแก้อักเสบสิ!

แต่ถ้าวันนี้ B มีโอกาสได้อ่านบล็อกของเรา และรู้ว่าจริงๆแล้ว ยาแก้อักเสบไม่ใช่ยาแก้อักเสบ แต่เป็นยาปฏิชีวนะ

ต่อไป B คงจะคิดมากขึ้น ก่อนจะหยิบยาแก้อักเสบ เอ้ย ยาปฏิชีวนะสักเม็ดขึ้นมากิน

เพราะฉะนั้น อาจารย์เลยย้ำหนักย้ำหนาไม่ให้พวกเราเรียก ยาปฏิชีวนะว่ายาแก้อักเสบ เพราะมันจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดอย่างร้ายแรงนี่แหละ

อันตรายข้อต่อไปของมันก็คือ ด้วยความที่มันเป็นยาต้านแบคทีเรียนั่นเอง...

เพื่อนๆคงจะรู้กันว่าในร่างกายของเรามีแบคทีเรียที่เป็นพันธมิตรกับเราตั้งมากมาย และถ้าเรากินยาต้านแบคทีเรียบางตัวเข้าไป มันก็จะส่งผลถึงเพื่อนๆพวกนี้ในร่างกายของเราด้วย

เมื่อแบคทีเรียไม่ก่อโรคในร่างกายของเราเหลือน้อยลงๆ ร่างกายเราก็ขาดสมดุล จุลชีพตัวอื่นๆที่ในภาวะปกติไม่ได้ทำอันตรายอะไร ก็เกิดได้ใจ วางอำนาจบาดใหญ่ และก่อโรคขึ้นมาซะงั้น

นอกจากนี้ทุกครั้งที่เรากินยาปฏิชีวนะ ก็เหมือนกับเรากำลังเปิดคอร์สติวเคล็ดลับการดื้อยาให้เหล่าแบคทีเรียทั้งหลาย ยิ่งกินมากเข้าๆ แบคทีเรียพวกนี้ก็เริ่มแข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดเราก็จะไม่เหลือยาที่จะมาทำลายพวกมันได้อีกต่อไป เข้าสู่ยุคแบคทีเรียครองโลก...

อีกเรื่องที่น่ากลัวคือ อาการแพ้ยา

ซึ่งการแพ้ยา เกิดขึ้นได้กับทุกคนไม่จำเป็นว่าจะต้องมีประวัติแพ้ยา นั่นคือ ตอนแรกเราอาจจะดีๆอยู่ แต่จู่ๆก็เกิดแพ้มันขึ้นมาซะดื้อๆ... เรื่องอย่างนี้เกิดขึ้นได้... และการแพ้ก็ไม่เกี่ยวกับขนาดยา บางทีกินแค่เม็ดเดียวก็แพ้ได้แล้ว ... เพราะว่าอาการแพ้มัน unpredictable คือไม่สามารถทำนายล่วงหน้าได้เลยจริงๆ

พูดกันง่ายๆก็คือ ถ้าเรากินยาเข้าไปสักเม็ด ไม่มีใครสามารถการันตีได้เลยว่า เราจะไม่แพ้ยาตัวนั้น แม้จะเป็นหมอเองก็ตาม

นี่เลยเป็นเหตุผลว่า ทำไมเราต้องคิดให้หนักๆก่อนที่จะกินยาสักเม็ด

ส่วนอาการแพ้ยาปฏิชีวนะ เราไม่ขอลงรายละเอียด เพราะมันเยอะมากจริงๆ เอาเป็นว่า อาการแพ้ยากลุ่มนี้มีตั้งแต่เล็กน้อย เช่น คัน, ผื่น,.. จนถึงรุนแรงถึงตายได้เลยทีเดียว!

คราวนี้เราขอยกตัวอย่างอาการที่เราคิดว่ามักจะทำให้เพื่อนๆใช้ยาปฏิชีวนะกันผิดๆบ่อยที่สุด คือ "เจ็บคอ"

ก่อนอื่นเราขอเกริ่นสักนิดว่า... อาการเจ็บคอส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส อาการเจ็บคอมีเชื้อแบคทีเรียชื่อ GABHS : Group A beta-hemolytic streptococci เพียงชนิดเดียวที่เป็นสาเหตุให้ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ และพบได้ประมาณ 5-17% ของผู้ใหญ่ที่มีอาการเจ็บคอ คิดกันง่ายๆคือ ประมาณ 85% ของคนเจ็บคอไม่ต้องกินยาปฏิชีวนะ!

ถ้าอ่านมาถึงตรงนี้ เพื่อนๆคงจะสงสัยกันว่า "แล้วเราจะแยกได้ยังไงว่าเจ็บคอแบบไหนมาจากเชื้อที่ว่า???"

ไม่ต้องห่วง เพราะวันนี้เรามีความรู้ดีๆมานำเสนอ

ความรู้ที่ว่าคือ "Centor Criteria" ซึ่งก็คือเกณฑ์ที่ใช้บอกว่าผู้ป่วยเจ็บคอควรจะได้รับยาปฏิชีวนะรึปล่าว

มีไข้ วัดอุณหภูมิได้ตั้งแต่ 38 องศาเซลเซียส
มีฝ้าขาวทีต่อมทอนซิล
คลำพบต่อมน้ำเหลืองโตบริเวณลำคอ และกดเจ็บ
ไม่มีอาการไอ

ถ้าเข้าข่ายเกิน 3 ใน 4 ข้อก็ถือว่าควรจะได้รับยาปฏิชีวนะ แต่ถ้าแค่1-2ข้อ ไม่มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะกินยาปฎิชีวนะ

เพื่อความเข้าใจง่าย เรามาดูรูปกันดีกว่า


ภาพครึ่งซ้ายคือ อาการเจ็บคอจากเชื้อแบคทีเรีย ส่วนครึ่งขวาคือ อาการเจ็บคอที่เกิดขึ้นจากสาเหตุอื่น

สังเกตว่าอาการเจ็บคอจากเชื้อแบคทีเรีย จะมีลิ้นไก่โตขึ้น, มีจุดขาวบนต่อมทอนซิล, อาจมีลิ้นเป็นปื้นๆสีขาวๆเทาๆ

ส่วนอาการคอแดง หรือต่อมทอนซิลบวมแดง ไม่ใช้ข้อบ่งชี้ให้ใช้ยาปฏิชีวนะ เพราะมันเป็นอาการร่วมซึ่งอาจจะเกิดจากเชื้อไวรัสก็ได้

ตอนนี้เพื่อนๆคงได้เกณฑ์คราวๆในการสังเกตตัวเองว่าควรจะใช้ยาปฏิชีวนะกันรึปล่าวบ้างแล้วเนอะ

บางคนอาจจะตั้งคำถามต่อว่า...
"แล้วถ้าพบว่ามันไม่ได้เกิดจากเชื้อแบคทีเรียก็ไม่ต้องกินยาเลยหรอ แล้วมันจะหายมั้ย"
หรือบางคนอาจจะสงสัยว่า...
"ก็ทุกทีที่กิน มันก็หายทุกที ไม่เห็นจะต้องพิจารณาอะไรขนาดนั้น กินไปเลยดีกว่า"

ขอตอบทั้ง 2 คำถามด้วยคำตอบเดียวว่า ถ้าเราเจ็บคอเพราะติดเชื้อไวรัสเนี่ย ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายเราจะกำจัดได้ภายในไม่เกิน 7-14 วัน แล้วมันก็จะหายได้เอง

เพราะงั้น คนที่กินยาปฏิชีวนะเข้าไปทั้งๆที่ติดเชื้อไวรัส แล้วหาย ก็เป็นเพราะมันหายได้เอง ไม่ได้เกิดจากยาที่เรากินเข้าไปเลยสักนิดเดียว

จริงๆอยากจะลงรูปอาการแพ้ยาของกลุ่มยาปฏิชีวนะด้วย แต่เกรงว่าจะสยองไปหน่อย เอาเป็นว่าไม่ลงดีกว่า

เรื่องที่เราเอามา up วันนี้เป็นแค่ส่วนหนึ่งที่เราได้เรียนมาในวันนั้น ซึ่งเราคิดว่ามันน่าสนใจมาก เลยเอามาแบ่งปันกัน

คราวนี้มาลองทำ Quiz ท้ายบล็อกกันเล่นๆ...

ถ้ามีเพื่อนป่วยเจ็บคอ2คนเดินมาหาเพื่อนๆ หลังจากเพื่อนๆได้อ่านบล็อกวันนี้ของเราเลยตัดสินใจง้างปากมันดู ปรากฏว่าเห็นดังรูป

เพื่อนคนแรก:


เพื่อนคนที่สอง:


คำถามคือ เพื่อนๆจะแนะนำให้ใครไปกินยาปฏิชีวนะ

คำตอบคือ ยังตอบไม่ได้...

ถ้าสงสัยเลื่อนขึ้นไปดู Centor Criteria นะ ... มีตั้ง 4 ข้อ กว่าจะตัดสินใจกินยาได้ต้องมีตั้ง3ข้อแหนะ

เพราะฉะนั้นอย่าเผลอใช้แค่ single criteria ในการตัดสินใจกันนะ

สุดท้าย ... ขอให้สุขภาพดีจงสถิตย์อยู่กับท่าน

ปล. พยายามแล้วจริงๆที่จะประมวลความรู้อันน้อยนิดของเราออกมาให้อ่านแล้วเข้าใจง่ายที่สุด ถ้าอ่านแล้วงงอนุญาตให้ไปถล่มบล็อกมนุษย์ม้าไม้ได้ตามใจชอบ (ฮาาาาาา)

คำเตือน!! คลิปนี้..คนเป็นโรคหัวใจห้ามดู

ตั้งวง(เหล้า?)เล่า เม้าท์ชีวิตแพทย์ใช้ทุน
By: i-aeez in medicine Posted on 08 Jul 2009 20:22

กะว่าจะไม่เข้ามาอัพบล็อกแล้วเชียว แต่พอดีช่วงนี้เป็นช่วงที่พี่ๆรับปริญญาเลยต้องมาอัพหน่อย

อย่าเพิ่งงงไปว่า...แล้วมันเกี่ยวกับแกตรงไหนวะ????

จริงๆคือ เรามีโอกาสได้คุยกับพี่ Intern หรือพี่แพทย์ใช้ทุนที่ไปทำงานอยู่ที่ต่างจังหวัด ซึ่งก็เป็นพี่ในสายรหัสตัวเองนี่แหละ ชื่อว่า พี่น้อง

พี่น้องเป็นคนที่ฮามาก เล่าเรื่องนู้นเรื่องนี้ให้พวกเราฟังซะเพลิน จนลืมว่าต้องอ่านหนังสือ (นั่นแกก็ลืมเป็นประจำอยู่แล้ว)

ว่าแล้วก็เลยอยากจะมาอัพเรื่องนี้ซะหน่อย .....

ตั้งวง(เหล้า?)เล่า เม้าท์ชีวิตแพทย์ใช้ทุน

มันเริ่มจากการที่พี่น้องพาพวกเราไปเลี้ยงกัน แล้วก็ update ชีวิตให้ฟังมากมาย ... เราเลยได้ความรู้เกี่ยวกับชีวิตแพทย์ใช้ทุนมาเพิ่มนิดหน่อย

เริ่มด้วยขั้นตอนแรกของการกำหนดชีวิตแพทย์ใช้ทุนทั้งหลาย....

การจับสลากแพทย์ใช้ทุน : ตอนแรกเราไม่คิดว่าวิธีจับสลากนี่มันยังใช้กันอยู่จนถึงปัจจุบัน เพิ่งกระจ่างก็วันนี้นี่แหละ ต้องขอบคุณพี่กี้ที่ถาม (เพราะเจ้าตัวกำลังคิดหนักว่าจะเลือกไปที่ไหนดี)

พอดีพี่น้องเป็นพี่ที่มาจากโครงการชนบท ก็เลยไม่ต้องจับสลาก แต่ก็รู้วิธีดีเพราะไปเป็นกรรมการในการจับสลากด้วย เลยเล่าซะละเอียด ให้พวกเราในสายได้เตรียมตัวตื่นเต้นกันไว้ตั้งแต่ยังสอบไม่ผ่าน เอ้ย ยังไม่ทันสอบ

พี่น้องบอกว่าเค้าจะให้พวกแพทย์ที่จะไปใช้ทุนเลือกกันก่อนในรอบแรกว่าอยากจะไปใช้ทุนที่ไหน โดยจะจับเวลาเพื่อให้เอาใบลงทะเบียนของตัวเองไปใส่ไว้ที่จังหวัดนั้นๆ พอหมดเวลาปุ๊ป ถ้าจังหวัดไหนได้รับจำนวนครบกำหนดก็จบ ถ้าจังหวัดไหนคนยังขาดก็เปิดรับเพิ่ม แต่ถ้าจังหวัดไหนเกิน.... ความซวยเริ่มปรากฏ!

พอพี่น้องเล่า ภาพในหัวเรานึกถึงพวกกีฬาสีเด็กประถม ที่จะมีเล่นเก้าอี้ดนตรี....แล้วเหลือเก้าอี้ตัวเดียว จริงๆมันก็ไม่เหมือนเก้าอี้ดนตรี เพราะคนที่ต้องไปมักมีมากกว่า 1 (ก็ดีนะจะได้ไม่เหงา เหอะๆ)

แต่พี่น้องบอกว่า ก่อนที่เค้าจะดำเนินการต่อเนี่ยมันก็จะมี "รอบประนีประนอม".... ก็คือจะให้พูดคุยกันว่า เธอจะยอมออกไปจังหวัดอื่นมั้ย จังหวัด ก ยังขาดคนอยู่นะ อะไรอย่างนี้

แต่ส่วนใหญ่ก็ไม่ยอมออกกัน (นึกในใจ..ชั้นจะต้องได้ไปต่อ!!! ... อารมณ์แบบประกวดเดอะ สตาร์)

ที่ออกส่วนใหญ่ก็จะเป็นพวกที่มาเป็นแพ็คคู่เพราะเล็งเห็นแล้วว่าโอกาสน้อยเต็มทีที่จะรอดคู่ ... เลยยอมสละสิทธิ์ (แต่ก็น้อย)

ในเมื่อไม่มีใครยอมออก ... ก็ต้องตัดสินกันด้วย ดวง! ... นั่นคือการจับสลาก.. เค้าจะให้จับลูกปิงปองคนละ 2 ลูก ให้เป็นหลักสิบกับหลักหน่วย ใครได้เลขสูงกว่าก็ได้เข้า ประมาณนั้น

ปีนั้นพี่น้องเป็นกรรมการ รู้สึกสลดใจมาก เพราะเป็นปีที่หมอ จุฬาฯดวงซวยมากที่สุดปีหนึ่งในประวัติศาสตร์ เหอะๆ อย่างเพื่อนพี่น้องคนนึงจับหลักหน่วยได้ 9 แต่ซวยหนักได้หลักสิบ เป็น 0!!!

.... พี่กี้เลยคิดว่า ควรจะสะสมบุญไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ เผื่ออีกไม่กี่เดือนข้างหน้าจำเป็นต้องทุบกระปุกบุญออกมาใช้... แต่อย่างเราคงต้องทำตั้งแต่ตอนนี้สินะ กระปุกกรรมมันหนักเหลือเกิน

น้องๆถามว่าไอ้จับสลากเนี่ย ให้พ่อแม่เข้ามาเชียร์ได้มั้ย? (เข้าใจถามดีว่ะ ฮ่าๆ)... พี่น้องบอกว่าไม่ได้

ไอ้เราก็คิดว่าเค้าคงนึกว่าเดี๋ยวมันจะให้อารมณ์เกณฑ์ทหารไปหน่อย .. (แดงๆๆๆ/ดำๆๆๆ !!) ... แต่จริงๆก็แอบคิดว่า เออ..ก็ดีนะ เป็นผู้หญิงส่วนน้อยที่เคยมีอารมณ์เหมือนถูกจับใบดำใบแดง ฮ่าๆๆๆ

แต่พี่น้องก็พูด(ทำลายจินตนาการ)ขึ้นมาว่า เค้ากลัวพ่อแม่จะมาโกงให้..

พอจับไม่ได้ก็ร้องไห้กันเยอะเลย ..คือเค้าจะเปิดรอบสำรองให้แต่ก็จะเหลือแต่จังหวัดที่คนไม่ค่อยจะเลือกไปกัน

บางคนถึงกับต่อสายถึงพ่อแม่ว่า ว่าจะลาออกหรือไปต่อดี

ตอนแรกก็คิดว่า มันจะอะไรกันหนักหนานะ แต่ลองคิดดูจริงๆ มันก็ตั้ง3ปีที่จากบ้านไปใช้ชีวิตคนเดียว แถมยังต้องแบกรับภาระหนักอึ้ง ... คนดีขนาดไหนก็ต้องมีหวั่นกันบ้างล่ะ

อีกเรื่องที่เป็นสีสันของการจับสลากคือพวกมาเป็นคู่....ซึ่งมีด้วยกันหลายรูปแบบ เช่น เธอไปไหนฉันไปด้วย ชีวิตนี้เราจะไม่แยกจากกัน!... อย่างนี้ก็ดูน่ารักดี แต่....มีอยู่คู่นึงตกลงกันไม่ได้เพราะว่า..

ฝ่ายหญิงอยากอยู่ที่ไหนก็ได้ขอให้ได้อยู่ด้วยกัน แต่ฝ่ายชายไม่ต้องอยู่ด้วยกันก็ได้ขอแค่อยู่ใกล้บ้าน.... (ฝ่ายหญิงนี่มีเค้าจะโดนเลย์ออฟสูงมาก)

แล้วก็มีพวกวีรบุรุษ... ยอมสละสิทธิ์เพื่อให้คู่เค้าได้อยู่ด้วยกัน (เพราะบังเอิญไปเป็นคนสุดท้ายที่ได้โควต้า และชื่อหลังจากตัวเองเป็นฝ่ายหญิงที่โดนแยก) ... วีรบุรษผู้นั้นคือ ชายผู้ที่ใช้ทุนอยู่ รพ.เดียวกับพี่น้องตอนนี้ ซึ่งพี่น้องเล่าว่า เรียนด้วยกันมาหลายปีคุยกันไม่กี่คำ ... และตอนนี้ต้องทำงานร่วมกัน ก็ยังคุยกันไม่กี่คำเหมือนเดิม

พี่น้องแอบเม้าท์ว่า เป็นบุคคลที่หน้าตาdepressตลอดเวลาตั้งแต่สมัยเรียน ตอนนี้ก็ได้อัพเกรทเป็นหมอหน้าตาdepressอยู่ รพ.ในตัวเมืองร้อยเอ็ดไปเรียบร้อย

หลังจากที่ผ่านวินาทีระทึกไปแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะต้องปฏิบัติงานจริงๆ...

งาน : เคยมีรุ่นพี่คนนึงพูดให้ฟังว่าชีวิตinternเป็นชีวิตที่สนุก ได้ออกไปทำงานที่ไกลๆ ได้เจอประสบการณ์(แปลกๆ)ใหม่ๆ เหมือนเป็นครั้งนึงในชีวิต ไม่อยากให้จ่ายเงินใช้ทุน เพราะยังไงสุดท้ายเราก็ได้กลับมาทำงานที่ที่เราจากมาอยู่ดี

แต่ก็นั่นแหละ ... มันคงเหมือนจะสนุก แต่ก็เหนื่อย เหมือนจะเครียด แต่ชีวิตก็คงมีสีสันไปอีกแบบ ...

พี่น้องบอกว่าชีวิตแพทย์ใช้ทุนต่างจากตอนเป็นนิสิตแพทย์ เพราะจะต้องคิดเองทำเอง ตัดสินใจเองทุกอย่าง (เรียกว่าตายเดี่ยว)

พี่กี้แทรกว่า ตอนนี้เป็นextern (นักเรียนแพทย์ปี6) ยังใส่tube(ท่อช่วยหายใจ)ไม่ค่อยจะเข้า จะรอดมั้ย (หมายถึงคนไข้หรือพี่กี้วะ ไม่ได้ถาม เหอะๆ) ได้คำตอบว่า..เดี๋ยวพอแกใส่บ่อยๆก็เป็นเอง! (มันต้องมีครั้งแรกกันทั้งนั้นสินะ) หรือตอนแรกๆก็ให้พยาบาลช่วยใส่ให้ก่อนถ้าไม่เข้าจริงๆ...

พี่น้องบอกว่าจริงๆแล้วพยาบาลใส่tubeเก่งมาก เค้าฝึกมาเยอะ เพราะงั้นการตีซี้กับพยาบาลก็เป็นเรื่องดีที่หมอๆควรจะทำสินะ .... ถึงมันจะดูเหมือนคบค้าเพื่อหาประโยชน์ แต่มันก็เป็น skill หนึ่งของแพทย์ในการทำงานเป็นทีมนี่หว่า

จริงๆเราก็แอบสงสัยว่า อย่างนี้จะมีแบบ เดี๋ยวแกผ่าบ่อยๆก็เป็นเองมั้ยนะ เหอะๆ ...

มันก็ต้องมีหมอเก่งๆมาช่วยสินะ ... แล้วถ้าไม่มี??? เราคงrefer(ส่งต่อไปที่อื่น)ให้หมด ฮ่าๆๆ ...

แล้วถ้าไม่ทัน??? .... เอ่อ.. นั่นสิ ........

"สิ้นหวังแล้ววงการแพทย์ไทย หมอมือใหม่ทำdeathรายวัน" ... จะดีหรอวะ

แต่บางทีถ้าไปอยู่ รพ.ชุมชนเล็กๆไม่มีเครื่องมือมาก ก็ไม่ต้องทำเคสหนัก (ทำได้แค่referอย่างเดียว)

ส่วนบาง รพ.ยังเป็นเหมือนโรงเรียนแพทย์อยู่ จะมีรุ่นพี่คอยสอน เช่น เครือมหาราชทั้งหลาย (แต่รู้สึกว่างานจะหนัก)

สรุปคือ งานก็แล้วแต่ว่าจะไปอยู่ รพ.ไหน แต่โดยรวมๆแล้วก็ต้องทำงานเองมากกว่าตอนเป็นนิสิตนักศึกษาแพทย์อยู่แล้ว

อ่อ... พี่น้องยังเล่าว่าหมอบางคนขายเวรให้เพื่อน แล้วไปรับjobตาม รพ.เอกชนเพิ่ม รับทรัพย์บาน! แต่พี่น้องบอกว่า เอาเข้าจริง น้องอาจจะคิดว่า ชีวิตกุก็ไม่ได้ต้องการอะไรขนาดนั้น... (นั่นสิ ขอกุอยู่ว่างๆสบายๆดีกว่า)

คำแนะนำเล็กๆจากพี่น้อง คือ.....

1. ถ้าสามารถเอาเพื่อนไปได้ก็จะดี เพราะจะได้มีคนคุยด้วย ...

2. ถ้าจะให้ดีก็หาแฟนไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ จะได้ไม่เหงา ...พี่น้องบอกว่าตอนนี้ชีวิตโดดเดี่ยวมาก ฮ่าๆๆ ...พอรู้ว่าพี่กี้เพิ่งเลิกกับแฟนหนุ่มที่คบมานาน ก็ถึงกับอึ้ง และบอกว่า แกพลาดแล้วกี้ (ทำหน้าประมาณว่าเมิงได้ทำเรื่องที่ผิดพลาดที่สุดในชีวิตลงไปแล้ว ฮ่าๆ)

อยู่เวร : อันนี้ก็แล้วแต่ รพ.อีกเหมือนกัน

ของพี่น้องอยู่เวรวันเว้นวัน ... แต่สมมติถ้าอยู่เวรดึก ทั้งคืน ตอนเช้าจะไม่มีชดให้ ... นั่นคือ คุณต้องอยู่ทำงานตอนเช้าเป็นปกติ (หมายความว่า ได้นอนวันเว้นวันหรอวะ!... ลืมถาม)

ขณะที่ลาพักมารับปริญญา .. พี่น้องก็ยังถูกคุณพยาบาลตามอยู่เลย (พี่น้องแอบตอบติดตลกไปว่า ค่ะ เดี๋ยวหมอไปนะคะ แต่ตอนนี้หมออยู่กรุงเทพฯ เหอะๆ)

บาง รพ.ก็งานไม่หนักมาก ในขณะที่บาง รพ.มี 32 เวร ต่อ 1 เดือน! (หมอหรือหุ่นยนต์... แล้วมันจะอยู่ได้ไงวะ!)

เราถามพี่น้องว่า พี่น้องทำได้ยังไงเนี่ย พี่น้องบอกว่า เมื่อก่อนพี่ก็เคยคิดว่าทำไม่ได้ เพราะพี่แกเป็นตัวหลับเลย ขนาดเรียนชั้น pre-clinic(1-3) ยังหลับประจำ ...

พี่น้องเล่าว่าตอนเรียน lecture ปี 1-3 ไม่หลับก็อ่านนิยาย เคยหลับทั้งวัน ตื่นมาเพื่อนมาช่วยกันนวดแขน เพราะparalyzeไปแล้ว เหอะๆ (เหมือนพูดเรื่องตัวเองอยู่เลยว่ะ ... ไอ้โรคขี้เซานี่มันถ่ายทอดทางสายรหัสด้วยหรอวะ)

แต่ว่าพอถึงเวลา มันก็ต้องทำได้! (หวังว่าจะเป็นเช่นนั้น)

เงินเดือน: เพิ่งรู้ว่าได้ไม่เท่ากัน จริงๆพี่น้องบอกว่ามันจะมีrangeของมันอยู่ แต่บาง รพ.ก็เลือกที่จะให้minimum บวกกับค่านู่นค่านี้ซึ่งเป็นoptionเสริม เช่นค่าเวร ค่าใส่tube ค่าทำนู่นทำนี่ แต่ละทีก็ไม่เท่ากัน แพทย์ใช้ทุนบาง รพ.เลยได้เงินเว่อร์(ฟังแล้วเว่อร์จริงๆ!) ในขณะที่บาง รพ. หมอก็เป็นเพียงคนใช้แรงงานคนนึง ฮ่าๆๆ (ไม่ขนาดนั้นหรอก เหอะๆ)

สิทธิพิเศษบางอย่าง: เช่น...

หน้าตาในสังคม ... ต้องยอมรับว่าเป็นหมอพอจะได้รับความเกรงใจจากคนอื่นอยู่ (ถึงแม้ปัจจุบันมันจะลดลง)

พี่กี้บอกว่า น้องๆควรภูมิใจ จริงๆแล้วพวกเราก็เหมือนดาราเลยนะ ได้รับชื่อเสียงแต่ต้องแลกกับเวลาส่วนตัว ฮาาาาาาา (คิดได้ไงวะประโยคนี้ ฮ่าๆ) นึกในใจว่าหมอโอ๊ค กับหมออะไรไม่รู้ที่เป็นดาราอยู่มันจะมีเวลาหายใจเป็นของตัวเองรึปล่าววะ (ดีนะที่ไอเอ้กมันอำลาวงการไปแล้ว ฮ่าๆๆ)

ขับรถเร็วโดยไม่ถูกจับ ... (ควรไม่ควรแล้วแต่วิจารณญาณ 55) แต่มีข้อแม้ว่า ให้ใส่เสื้อกาวน์ หรือแขวนกาวน์ไว้ในรถ

ครั้งนึง พี่น้องขับรถเร็วเลยโดนตำรวจเรียก

พี่น้อง : พอดีรีบไปออกหน่วยอะค่ะ

ตำรวจ : ทำอะไรครับ

พี่น้อง : เป็นหมอค่ะ (คิดในใจว่า กุอุตส่าห์แขวนกาวน์ไว้แล้วเชียว)

ตำรวจ : ... อ่อ ครับๆ (แต่ทำหน้าตาไม่ค่อยเชื่อ)

พี่น้องบอกว่า ถึงจะหน้าไม่ให้ แต่สุดท้ายก็ผ่านมาได้ เหอะๆ

พี่กี้เสริมว่า ถูก! เวลาขับรถต้องใส่เสื้อกาวน์ทุกครั้งนะ ฮ่าๆๆ

หลังจากกินไปคุยไป (ซึ่งเราจะกินเป็นส่วนมาก ปล่อยให้พี่ๆเค้าคุยกัน ไอ้เรากับน้องๆก็กินๆฟังๆอย่างเดียว ฮ่าๆ) ก็สมควรแก่เวลา...

ตอนกลับเรากลับทางเดียวกับพี่น้องเลยได้คุยกันต่ออีกพักนึง รู้สึกว่า พี่น้องเนี่ยเจ๋งจริงๆ .... ว่าแล้วก็อยากเรียนจบบ้าง (เกี่ยวมั้ยวะนั่น)