*..รอโหลดซักกะเดี๋ยว..*           ฝ่าวิกฤติการเมืองไทย..๒๕๔๙
. . . ร่วมด้วยช่วยกันเผยแพร่สื่อสารถึง"คนเสื้อแดง"ทั่วไทยและทั่วโลก . . . ขอขอบพระคุณเจ้าของclipภาพถ่ายและบทความทุกๆท่านที่กรุณาเอื้อเฟื้อแบ่งปัน . . .น้ำใจซื้อขายไม่ได้ แต่น้ำใจให้กันได้...อิอิ
คลิกที่นี่...ดูสด VoiceTV และ AsiaUpdate *..รอโหลดซักกะเดี๋ยวเตง..*
  

@ ปู้นนน...!!! คนเมืองใต้เจียงใหม่ของหมู่เฮาลงไปตางปู๊นนน..... * * * * * @ 2กุมภา..กาเบอร์ 15 ทั้ง ส.ส.เขต และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย
คลิกที่ภาพ...เพื่อดูขนาดที่ใหญ่ขึ้น @ New!! แจกปฏิทินนายกฯปู พ.ศ.2556 คลิกที่นี่...

คลิกที่ภาพ...เพื่อดูขนาดที่ใหญ่ขึ้น


คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

PlayListนี้ เริ่มต้นด้วย "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน" เรียงลำดับตั้งแต่ ตอนแรก ถึง ตอนปัจจุบัน ..ท้ายเพลย์ลิสท์เป็นคลิป "เมื่อศาลรัฐธรรมนูญกระทำขัดรัฐธรรมนูญ : จะทำอย่างไร?" วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2556 เวลา 13.00 - 16.00 น. ห้องกมลทิพย์ ชั้น 2 โรงแรมสุโกศล (สยามซิตี้เดิม) คลิปนี้..วิทยากร รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความคิดเห็นเริ่มนาที 0:14:24
คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...
หรือคลิกที่นี่.. @ AsiaUpdate "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน"

วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2556

นายกฯปู ตอบทุกคำถาม "อัลจาซีรา" นิรโทษกรรม-จำนำข้าว-ทักษิณ-ทางออกประเทศ


นายกฯปู ตอบทุกคำถาม "อัลจาซีรา" นิรโทษกรรม-จำนำข้าว-ทักษิณ-ทางออกประเทศ
By: ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 03 ธ.ค.2556

"ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ให้สัมภาษณ์ "เวโรนิกา เพโดรซา" ผู้สื่อข่าวของอัลจาซีราห์ ในรายการ "ทอล์ก ทู อัลจาซีราห์" ถึงการบริหารประเทศในสถานการณ์ที่มีความขัดแย้งสูง และทางออกของประเทศในขณะที่สังคมมีความอ่อนไหวสูง โดยกล่าวถึงสถานการณ์ในไทยว่า ขณะที่ผู้ประท้วงเริ่มเข้ามายึดสถานที่ราชการ ทำให้เกิดความหวาดระแวงว่าสถานการณ์จะบานปลาย

@ ผู้ประท้วงยึดเชิงสัญลักษณ์ รัฐบาลยังทำงานได้

นางสาวยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า หากมองการยึดกระทรวงการคลังของผู้ประท้วงว่าเป็นการยึดในเชิงสัญลักษณ์ แต่จริงๆ แล้วรัฐบาลยังสามารถทำงานได้อยู่ เพราะรัฐบาลต้องดำเนินงานต่อไปเพื่อประชาชนทั่วประเทศ รัฐบาลจึงต้องขอร้องให้ผู้ประท้วงไม่ยึดสถานที่ราชการ เพราะผิดกฎหมาย

@ จับคนทำผิดกฎหมาย

เพโดรซาจึงถามนายกรัฐมนตรีว่า เมื่อมีการออกหมายจับผู้ทำผิดกฎหมายมาแล้ว จะดำเนินการจับกุมเมื่อไหร่

นางสาวยิ่งลักษณ์ ตอบว่า ตามหลักกฎหมายต้องเป็นหน้าที่ของตำรวจ แต่รัฐบาลต้องระมัดระวังในสถานการณ์ที่อ่อนไหวในขณะนี้ จึงต้องขอร้องว่าอย่าเข้าไปในสถานที่ราชการ เราจะเคารพการประท้วงและแสดงออกให้เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย และต้องการเปิดทางให้ผู้ประท้วงเข้ามาเจรจากับรัฐบาล และแม้ฝ่ายค้านไม่ยอมเจรจา และสถานการณ์ดำเนินไปเช่นนี้ จะเห็นว่าไม่ดีต่อทุกฝ่าย ต้องหันมาเจรจา ถ้าเขารักประเทศ อย่าทำร้ายประเทศและเศรษฐกิจของประเทศ เรื่องนี้ไม่ใช่ใครแพ้ ใครชนะ เรายินดี ไม่ว่าใครจะนำการเจรจาและเริ่มก่อน

@ ใครคุมสถานการณ์เกมนี้

เมื่อเพโดรซาถามนายกรัฐมนตรีต่อว่า ในสถานการณ์นี้ใครเป็นคนควบคุม

นายกรัฐมนตรีตอบว่า ผู้ประท้วงเป็นคนควบคุม แต่ผู้ประท้วงต้องพูดให้ชัดว่าต้องการอะไรจากการประท้วง คนควบคุมรองมาคือ รัฐบาล เพราะรัฐบาลต้องปกป้องสถานที่ราชการตามหลักสากล เพราะต้องการหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า เพราะในอดีตเมื่อปี 2010 เราเคยเผชิญกับเหตุการณ์เช่นนี้ ที่มีคนเจ็บคนตายมาแล้ว รัฐบาลจึงต้องการรักษาความสงบ

@ ทหารมีบทบาทอย่างไรในไทย

เพโดรซาถามว่า ที่จริงแล้วสถาบันทหารมีความสำคัญอย่างไรกับสังคมไทย เพราะความสัมพันธ์ระหว่างทหาร รัฐบาล และสังคมไทย มองจากคนภายนอกนั้นไม่ชัดเจน ไทยจึงมีการทำรัฐประหารหลายครั้ง เหมือนว่าไทยไม่เคยเรียนรู้ประวัติศาสตร์เลย

นางสาวยิ่งลักษณ์ตอบว่า ต้องไปถามผู้สั่งการทหาร ดิฉันเป็นนายกรัฐมนตรี ไม่ได้มีหน้าที่ดูแลฝั่งทหาร แต่ที่แน่ๆ กองทัพได้เรียนรู้แล้วว่า การทำรัฐประหารไม่เป็นผลดีต่อประเทศ และยังมีการฉีกแก้ไขรัฐธรรมนูญซึ่งยังผลมาจนถึงวันนี้ ทว่าสถานการณ์ประเทศไทยกำลังอยู่ในยุคเปลี่ยนผ่านจากยุคของรัฐประหารไปสู่ประชาธิปไตย เราจึงต้องทำให้ประชาธิปไตยเดินหน้า ยึดหลักนิติรัฐ และในประเทศไทยขณะนี้ เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านจากระบอบเก่ามาสู่ระบอบใหม่ ดังนั้น จึงเป็นเหตุผลให้รัฐบาลยึดหลักประชาธิปไตย

@ รัฐบาลทำลายนิติรัฐ เพราะ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม

ผู้สื่อข่าวอัลจาซีราถามต่อว่า หากรัฐบาลยึดหลักนิติรัฐ เพราะเหตุใดรัฐบาลจึงแก้พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ซึ่งบั่นทอนระบบนิติรัฐเสียเอง

นายกฯ ตอบว่า รัฐบาลไม่ใช่คนผลักดัน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม แต่เป็นรัฐสภาทำหน้าที่นั้น แม้ว่าในรัฐสภาจะมีเสียงส่วนใหญ่เป็นเพื่อไทย แต่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็มีสิทธิเสียงจากประชาชนเช่นกัน การผลักดัน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ทำให้ประเทศเกิดความปรองดอง แต่กรณีที่เกิดขึ้นกับไทยนั้น ประชาชนเห็นด้วยกับการนิรโทษกรรม เพียงแต่ไม่เห็นด้วยในแง่ของรายละเอียด และยังไม่เข้าใจกระจ่างชัดพอ จึงมีคนจำนวนมากต่อต้านร่างนี้ แต่เรื่องนี้ก็ได้จบไปแล้ว โดยรัฐบาลพร้อมยืนยันว่าจะไม่มีการนำเรื่องกลับเข้าสู่สภาอีก

ทั้งนี้ เพโดรซา ตั้งคำถามว่าคำตอบของยิ่งลักษณ์ จะยืนยันจากปากของนายกรัฐมนตรีไทยได้หรือไม่ว่าจะไม่ยก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมขึ้นมาอีก หากประชาชนไม่ต้องการ

นายกรัฐมนตรีจึงยืนยันว่า รัฐบาลจะทำตามที่ได้บอกประชาชนไปว่าจะไม่ยก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมขึ้นมาแน่นอน


@ทางออกความขัดแย้งในไทย

สำหรับคำถามกรณีการลดช่องว่างของความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างกันในสถานการณ์ปัจจุบันที่ขมขื่นและเจ็บปวดเช่นนี้นายกฯย้ำว่าการจะสร้างกระบวนการปรองดองซึ่งอยู่เปลี่ยนผ่านจากยุครัฐประหารนั้น รัฐธรรมนูญและผลจากการทำรัฐประหารยังคงอยู่ ไทยยังอยู่ในระยะเปลี่ยนจากระบบหนึ่งไประบบหนึ่ง จำเป็นต้องเสริมสร้างความเข้มแข็งในระบอบประชาธิปไตยขึ้นมาก่อน ความขัดแย้งระหว่างประชาชนจึงยังไม่หายไป และต้องใช้เวลา

@ "จำนำข้าว" ต้อตอการประท้วง

ต่อกรณีคำถามว่า ส่วนหนึ่งของประเด็นที่ผู้ประท้วงไม่พอใจในประเด็นการบริหารงานด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล จึงเข้ายึดกระทรวงการคลัง โดยเฉพาะโครงการจำนำข้าวที่ต้องใช้งบ 250,000 ล้านบาท ต่อปี หรือเกือบๆ 2% ของจีดีพีประเทศไทย และยังมี พ.ร.บ. 2.2 ล้านล้านบาท ที่กำลังอยู่ในสภาฯขณะนี้

นางสาวยิ่งลักษณ์ตอบคำถามว่า โครงการรับจำนำข้าวต้องการช่วยเหลือชาวนา เพราะประเทศมีช่องว่างระหว่างรายได้ระดับสูงกับต่ำอย่างมาก มีรัฐบาลหลายๆ รัฐบาลในโลกที่ช่วยเหลือคนยากจน และชาวนา

เพโดรซาซักต่อว่า มีข้อสงสัยว่าสาเหตุคือชาวนาเป็นฐานเสียงเพื่อไทย ต่างจากประชาชนจากภาคใต้ที่เป็นฐานเสียงประชาธิปัตย์

นายกฯ ตอบว่า รัฐบาลสนับสนุนทั้งข้าวและยางพารา แต่สนับสนุนชาวนามากกว่า เพราะรายได้เฉลี่ยของชาวนากับสวนยางต่างกันมาก ชาวนาไม่มีที่ดินของตัวเอง ต้องมีต้นทุนในการเช่าที่ และใช้เวลาในการเพาะปลูก กว่าจะได้ผลผลิตมาก 5-6 เดือน ส่วนผู้ปลูกยางส่วนใหญ่มีที่ดินเป็นของตนเอง ลงทุนทุกๆ 20-25 ปี แต่เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วสามารถทำได้ทุกวัน รัฐบาลจึงมีวิธีช่วยเหลือต่างกันคือ ให้ต้นกล้ายางพาราแทน

@ ประชาชนพิสูจน์ "นายกฯ"

เพโดรซาถามว่า นายกฯจะแก้ปัญหาอย่างไร เมื่อมีคนไม่ชอบรัฐบาล แม้ว่าทำงานอยู่บ้าง ยิ่งลักษณ์ตอบว่า ระบอบประชาธิปไตยจะเปิดให้ประชาชนเป็นผู้ประเมิน หากเลือกตั้งครั้งหน้าถ้าตนทำงานไม่ดีหรือบกพร่อง ประชาชนก็ไม่เลือก แต่ถ้าประชาชนไว้ใจก็ยินดีที่จะทำหน้าที่

@ บทบาท "ทักษิณ"

ผู้สื่อข่าวอัลจาซีรา ถามนางสาวยิ่งลักษณ์ว่า คุยกับนายกทักษิณทุกวันหรือไม่

นายกฯ ตอบว่า ไม่ได้คุยทุกวัน แต่การคุยกับพี่ชายก็ไม่ได้หมายความว่า เขาเป็นคนบริหารประเทศ เพราะตนและคณะรัฐมนตรีของตนคือผู้ทำหน้าที่บริหารประเทศ พี่ชายได้ให้กำลังใจในการคงไว้ในหลักประชาธิปไตย

อย่างไรก็ตาม นายกฯ ยิ่งลักษณ์ได้กล่าวทิ้งท้ายถึงนานาชาติว่า ให้ประชาชาติเชื่อในประเทศไทยว่ารัฐบาลจะคุมสถานการณ์ให้อยู่ในความสันติได้ และเราจะหาทางออกได้ด้วยการเจรจากัน


เปิดบทสนทนาวงเจรจา"ยิ่งลักษณ์-สุเทพ"
เผย"สุเทพ"ไม่เอา"ลาออก-ยุบสภา" แถมจะตั้งนายกฯเอง

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการเจรจาระหว่าง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำ กปปส. ว่าในที่ประชุมประกอบด้วย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ผู้นำสามเหล่าทัพ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ โดยนายกฯเป็นผู้ขอให้ฝ่ายทหาร ขอให้นายสุเทพเข้ามาพูดคุยด้วย ซึ่งนายสุเทพเห็นว่าสามเหล่าทัพเข้าไปหมดเลยยอมมา

ทั้งนี้ในที่ประชุม นายกรัฐมนตรี ระบุว่าอยากให้หาทางออกร่วมกันว่าจะเป็นอย่างไรได้บ้าง นายกฯยังถามด้วยว่าถ้าลาออกหรือยุบสภาตกลงหรือไม่ ซึ่งนายสุเทพ ยืนยันว่าไม่เอา นายกฯจึงถามต่อว่าแล้วจะเอาอย่างไร นายสุเทพจึงตอบว่าให้ยกอำนาจให้ประชาชน และจะตั้งสภาประชาชนขึ้นมา

น.ส.ยิ่งลักษณ์ ถามต่อว่าแล้วจะให้ใครเป็นนายกฯ นายสุเทพก็ระบุว่าตนจะเป็นคนตั้งเอง นายกฯได้ถามต่อว่าแล้วจะเลือกตั้งใหม่เมื่อไหร่อย่างไร นายสุเทพกล่าวว่า มีแน่ แต่ขอแก้รัฐธรรมนูญให้เรียบร้อยก่อน

สุดท้ายนายกฯ บอกว่าที่นายสุเทพเรียกร้องนั้นอยากให้ยอมรับว่าจะทำได้อย่างไร เพราะกฎหมายไม่เปิดช่องให้ นายสุเทพ กล่าวอีกว่าขอให้นายกฯสละอำนาจให้ประชาชนเรื่องอื่นไม่เป็นไร

ทั้งนี้ เมื่อมาถึงตอนนี้ก็เริ่มรู้ว่าคุยกันไม่รู้เรื่องแล้ว เพราะเสนอไปไม่ยอมรับเลย สิ่งที่นายสุเทพ เสนอมาเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

ทั้งนี้เมื่อนายสุเทพ ออกจากการหารือไปแล้ว นายกฯได้ฝากสามเหล่าทัพให้เป็นการบ้านโดยพูดติดตลกว่า

"ช่วยแนะนำหน่อยว่าจะทำอะไรได้"