*..รอโหลดซักกะเดี๋ยว..*           ฝ่าวิกฤติการเมืองไทย..๒๕๔๙
. . . ร่วมด้วยช่วยกันเผยแพร่สื่อสารถึง"คนเสื้อแดง"ทั่วไทยและทั่วโลก . . . ขอขอบพระคุณเจ้าของclipภาพถ่ายและบทความทุกๆท่านที่กรุณาเอื้อเฟื้อแบ่งปัน . . .น้ำใจซื้อขายไม่ได้ แต่น้ำใจให้กันได้...อิอิ
คลิกที่นี่...ดูสด VoiceTV และ AsiaUpdate *..รอโหลดซักกะเดี๋ยวเตง..*
  

@ ปู้นนน...!!! คนเมืองใต้เจียงใหม่ของหมู่เฮาลงไปตางปู๊นนน..... * * * * * @ 2กุมภา..กาเบอร์ 15 ทั้ง ส.ส.เขต และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย
คลิกที่ภาพ...เพื่อดูขนาดที่ใหญ่ขึ้น @ New!! แจกปฏิทินนายกฯปู พ.ศ.2556 คลิกที่นี่...

คลิกที่ภาพ...เพื่อดูขนาดที่ใหญ่ขึ้น


คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...

PlayListนี้ เริ่มต้นด้วย "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน" เรียงลำดับตั้งแต่ ตอนแรก ถึง ตอนปัจจุบัน ..ท้ายเพลย์ลิสท์เป็นคลิป "เมื่อศาลรัฐธรรมนูญกระทำขัดรัฐธรรมนูญ : จะทำอย่างไร?" วันพุธที่ 1 พฤษภาคม 2556 เวลา 13.00 - 16.00 น. ห้องกมลทิพย์ ชั้น 2 โรงแรมสุโกศล (สยามซิตี้เดิม) คลิปนี้..วิทยากร รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แสดงความคิดเห็นเริ่มนาที 0:14:24
คลิกที่นี่ ดูบนyoutube...
หรือคลิกที่นี่.. @ AsiaUpdate "เล่าเรื่อง ตาดูดาวเท้าติดดิน"

วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

คำแถลงนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กรณี ปปช.กล่าวโทษโครงการรับจำนำข้าว

ชาวนา ดูกันหน่อย ดูง่ายๆเข้าใจง่ายๆ อยากให้ชาวนาประเภทยอมเป็นงูเห่าให้เขาจูงพามากดดันคนที่ช่วยเขา ดูหน่อย..
เพื่อเตือนความจำและให้เกิดสำนึก ว่าควรยืนช่วยด้านไหนดี


คำแถลงนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กรณี ปปช.กล่าวโทษโครงการรับจำนำข้าว

พี่น้องประชาชนชาวไทยและชาวนาที่รักยิ่ง

ดิฉันขอเริ่มต้นด้วยการยืนยันอีกครั้งว่า ตลอดระยะเวลาสองปีกว่าที่ดิฉันได้มาทำงานในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี นั้น

ดิฉันตั้งใจที่จะทำงานรับใช้พี่น้องประชาชนด้วยความมานะอุตสาหะและที่สำคัญด้วยความซื่อสัตย์สุจริตมาโดยตลอด เพราะดิฉันตระหนักเสมอว่า เมื่อประชาชนให้ความไว้วางใจเลือกเราเข้ามาทำงานแล้ว เราจะต้องไม่ทำให้ประชาชนผิดหวัง และต้องทำให้ดีที่สุดดังที่สัญญากับประชาชนไว้ โดยเฉพาะการปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติ และประชาชนทั้งประเทศ และการรักษาไว้ซึ่งระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

เมื่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. ได้มีมติให้ไต่สวนข้อเท็จจริงตามคำร้องของพรรคประชาธิปัตย์ และกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีเหตุควรสงสัย เรื่องการปล่อยให้มีการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าวและการระบายข้าว โดยเพิกเฉยไม่ระงับยับยั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทางราชการตามอำนาจหน้าที่ เมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๗ ซึ่งต่อมา คณะกรรมการ ป.ป.ช. ก็ได้มีหนังสือสำนักงาน ป.ป.ช. ลงวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๗ แจ้งเรื่องไต่สวนมายังดิฉัน ให้ทราบเรื่องการตั้งคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทั้งคณะเป็นองค์คณะไต่สวน และมอบหมายให้ ศ.พิเศษ วิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. และนายประสาท พงษ์ศิวาภัย เป็นกรรมการผู้รับผิดชอบสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริง โดยหนังสือที่แจ้งต่อดิฉันยืนยันว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. ผู้ไต่สวน จะปฏิบัติต่อดิฉันให้ได้รับสิทธิในกระบวนการยุติธรรมอย่างเหมาะสมด้วยความโปร่งใสในการปฏิบัติหน้าที่ นั้น

ดิฉันก็เชื่อคำกล่าวอ้างในหนังสือของ ป.ป.ช. เพราะเมื่อคำนึงถึงตำแหน่งที่ดิฉันดำรงอยู่ คือในฐานะนายกรัฐมนตรี หัวหน้าผู้บริหารราชการแผ่นดิน ก็ย่อมควรที่จะได้รับการอำนวยความยุติธรรมตามสมควร กล่าวคือ การรับฟังพยานหลักฐานในเรื่องที่มีการกล่าวหาอย่างเพียงพอ แม้ไม่สิ้นกระแสความในขั้นตอนการแจ้งข้อกล่าวหา และแม้กฎหมายจะระบุให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการโดยเร็วแต่ก็ไม่ควรเร่งรีบเร่งร้อน เพื่ออำนวยความยุติธรรมต่อผู้ถูกกล่าวหา

พี่น้องประชาชนค่ะ

การทำงานในฐานะนายกรัฐมนตรี และในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ถือเป็นการทำงานในระดับนโยบาย ส่วนในระดับปฏิบัติการการดำเนินการโครงการรับจำนำข้าว ก็เช่นเดียวกับโครงการอื่นๆ กล่าวคือ มีการกำหนดโครงสร้างการทำงานขั้นตอนและกระบวนการปฏิบัติ เพื่อรับจำนำและระบายข้าว โดยมีหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบการปฏิบัติการให้เป็นไปตามนโยบาย

ระบบงานราชการเป็นระบบการทำงานที่มีมาตรฐาน การที่ดิฉันทำงานอยู่ในระดับการกำหนดนโยบาย จึงไม่ได้มีอำนาจหน้าที่ในการลงไปปฏิบัติการสั่งการ หรือครอบงำเจ้าหน้าที่ในระดับปฏิบัติเลยแม้แต่น้อย ทั้งการดำเนินโครงการตามนโยบายดังกล่าวก็เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี และตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภาซึ่งต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๗๑ และ ๑๗๘ และดิฉันตระหนักเสมอว่า การทำงานไม่ว่าจะเป็นราชการหรือเอกชน จะต้องใช้หลักการในการบริหารจัดการที่ดี มีการมอบหมายงานโดยเด็ดขาด เพื่อให้มีผู้รับผิดชอบในแต่ละเรื่องแต่ละขั้นตอนที่ชัดเจน

ดังนั้น เมื่อจะมีการแจ้งว่า จะไต่สวนข้อเท็จจริงดิฉันในเมื่อดิฉันไม่ใช่ผู้ปฏิบัติแต่กำลังถูกกล่าวหา ดิฉันก็จำเป็นต้องขอใช้สิทธิในกระบวนการยุติธรรม ขอทราบพยานหลักฐานและขอตรวจสอบพยานหลักฐาน ตามสิทธิในกระบวนการยุติธรรมที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองและกำหนดไว้ เพื่อจะได้ชี้แจงเรื่องที่ถูกกล่าวหาให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. เข้าใจในเบื้องต้นว่า มิได้กระทำผิดซึ่งเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมที่ก่อนการถูกแจ้งข้อกล่าวหาในคดีต่างๆ ผู้ถูกกล่าวหาย่อมต้องมีโอกาสได้ใช้สิทธิ รวมทั้งการขอคัดค้านให้เปลี่ยนตัวบุคคลเป็นกรรมการผู้รับผิดชอบสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริง

ซึ่งสำหรับกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มอบหมายให้ ศ.พิเศษ วิชา มหาคุณ เป็นกรรมการนั้น ดิฉันได้ขอให้กรรมการ ป.ป.ช. รายอื่นทำหน้าที่กรรมการผู้รับผิดชอบสำนวนการไต่สวนแทน โดยดิฉันได้ยื่นหนังสือจำนวน ๒ ฉบับ ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไปตั้งแต่เมื่อวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ แล้ว

อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าแปลกใจว่านับแต่วันนั้นเป็นต้นมา ดิฉันไม่เคยได้รับแจ้งจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ว่า เรื่องที่ดิฉันขอความยุติธรรมทั้ง ๒ เรื่องข้างต้น คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะอำนวยความยุติธรรมให้แก่ดิฉันหรือไม่ กลับกันคือ เมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ที่ผ่านมานั้น ดิฉันได้รับทราบจากการแถลงข่าวของกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งเป็นบุคคลที่ดิฉันคัดค้าน ว่า "ป.ป.ช. มีมติเอกฉันท์ ให้เรียกดิฉันมารับทราบข้อกล่าวหา โดยจะดำเนินการแจ้งข้อกล่าวหาให้ดิฉัน ในวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ เวลา ๑๔.๐๐ น." ซึ่งหากรวมเวลานับแต่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ตั้งคณะกรรมการไต่สวน เมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๗ จนถึงวันที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติให้แจ้งข้อกล่าวหาต่อดิฉัน ในวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ รวมเวลาที่ใช้ในการดำเนินคดีเพื่อแจ้งข้อหากับดิฉันเพียง ๒๑ วัน ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนที่กรรมการ ป.ป.ช. เคยปฏิบัติต่อการไต่สวนในคดีทางการเมืองอื่นๆอย่างเช่นคดีของดิฉัน

มีข้อสังเกตที่มาใช้เปรียบเทียบได้ด้วยว่า คดีที่บุคคลรัฐบาลที่แล้วสมัยเมื่อเป็นรัฐบาลก็ถูกกล่าวหาในเรื่องทุจริต ในการปฏิบัติหน้าที่ในหลายคดีเช่นกัน เช่น คดีระบายข้าวถูกกล่าวหาว่ามีการทุจริตแต่ปรากฏว่า คดีไม่มีความคืบหน้าใดๆ แต่สำหรับดิฉันแล้ว ในเวลาเพียง ๒๑ วัน ดิฉันก็ตกเป็นผู้ถูกกล่าวหาในคดีอาญา

พี่น้องประชาชนค่ะ

ดิฉันขอยืนยันความบริสุทธิ์ในการปฏิบัติหน้าที่ว่า ดิฉัน มิได้กระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหา จากคณะกรรมการ ป.ป.ช. และข้อกล่าวหาที่ว่า ทำไมดิฉันไม่ได้ระงับยับยั้งโครงการรับจำนำข้าว แต่กลับยืนยันที่จะดำเนินโครงการต่อไปนั้น แม้จะถูกกล่าวหาเช่นนี้ดิฉันก็พร้อมที่จะพิสูจน์ให้ชัดแจ้งอีกครั้งว่า โครงการดังกล่าวมีเจตจำนงที่ดีต่อชาวนา และเป็นประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชน โครงการรับจำนำข้าวนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างชีวิตใหม่ให้กับชาวนา และแม้ว่าชีวิตดิฉัน จะต้องตกเป็นผู้ถูกกล่าวหาในคดีอาญา หรือรวมทั้งต้องถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง ตามความต้องการของผู้ล้มล้างรัฐบาลในปัจจุบัน แต่ดิฉันก็พร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลอันเป็นข้อเท็จจริง โดยดิฉันหวังว่าจะได้รับความยุติธรรมจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. และหวังว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช. จะยอมรับฟังคำชี้แจงและพยานหลักฐาน ของดิฉันให้เสร็จสิ้น ก่อนที่จะชี้มูลความผิดกระบวนการยุติธรรมตามหลักนิติธรรมนั้น ย่อมต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาพิสูจน์ตัวเองเสมอ

ที่สำคัญหากการอำนวยความยุติธรรมต่อตัวดิฉันมีจริง โดยไม่มีวาระซ่อนเร้นใดๆแล้วคณะกรรมการ ป.ป.ช. ก็ไม่ควรรีบเร่ง รีบร้อน ในการไต่สวนและชี้มูลความผิด ให้เป็นไปในลักษณะที่จะถูกสังคมกล่าวหาได้ว่า เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มผู้ประสงค์ล้มล้างรัฐบาล และหากจะเปรียบเทียบกับคดีอื่นๆ กลับได้รับโอกาสในการได้รับการอำนวยความยุติธรรมอย่างเต็มที่ นับแต่คณะกรรมการ ป.ป.ช. รับคำร้องที่มีการกล่าวหา ดังที่ดิฉันได้กล่าวไว้เบื้องต้นในกรณีการทุจริตในโครงการระบายข้าว ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๒ ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการไต่สวน รวมทั้งคดีที่ยื่นและการค้างพิจารณาอยู่อีกเป็นจำนวนมากมาย เช่น กรณี ปรส.

ดังนั้น คณะกรรมการ ป.ป.ช. เองก็ต้องพิสูจน์ให้ชัดเจนต่อสาธารณชนว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ใช้อำนาจของตนอย่างถูกต้อง เที่ยงธรรม และเป็นไปตามหลักนิติธรรม ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดแล้วหรือไม่

สุดท้ายนี้ ดิฉันขอเรียนต่อพี่น้องประชาชน และชาวนาว่า อย่างเพิ่งท้อถอยต่อปัญหาที่เกิดขึ้น เราจะร่วมกันในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคทั้งหลายทั้งปวงไปด้วยกัน และดิฉันพร้อมที่จะรับฟังและร่วมมือกับทุกฝ่าย เพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง ประสิทธิภาพ และประสิทธิผลว่า เป็นไปเพื่อประโยชน์ของชาวนาอย่างแท้จริง และหากต้องให้มีการแก้ไขปรับปรุงอย่างไร เพื่อให้โครงการสัมฤทธิ์ผลยิ่งขึ้น ดิฉันก็พร้อมที่จะดำเนินการ ทั้งหมดก็เพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของคนไทยทุกคน

ขอบคุณและสวัสดีค่ะ


Prime Minister Yingluck Shinawatra's Statement on the National Anti-Corruption Commission (NACC)'s charges over the Rice Pledging Scheme

Respected fellow Thai citizens and dear rice farmers,

I wish to begin by reaffirming that over the past two years since being appointed Prime Minister, I have been committed to serve the people of Thailand with honesty, integrity and every determined effort, as I have always been conscious of the mandate entrusted to me by the Thai people. I shall therefore not let them down; in particular the responsibility to protect the interests of the Thai people and uphold our democratic system with His Majesty the King as the Head of State.

Since the National Anti-Corruption Commission (NACC) has resolved to investigate into the matter upon petition by the Democrat Party, and in the case that the NACC has persistently expressed reason to suspect corruption involved with the Rice Pledging Scheme since 28 January 2014, thereby causing damage to the government; and with the subsequent announcement on 31 January 2014 informing me of this investigation, with the entire NACC making up the investigating committee and the delegating of Professor Vicha Mahakul and Mr.Prasart Pongsiwapai as the responsible committee members for this investigation through an official note which also confirmed that I shall be accorded full rights, treated fairly and transparently in the judicial process by NACC,

I initially believed the NACC, as in consideration of the current position I hold as Prime Minister, that I will be accorded fair and just treatment and that sufficient witness and evidence will be considered throughout the procedures in the reporting of allegations, even though the law specifies that the NACC proceeds promptly, but without rush, in accommodating justice for the accused.

Fellow Citizens

My work as Prime Minister and also as Chairperson of the National Rice Policy Committee is done at the policy level. While at the operational level, the implementation of the Rice Pledging Scheme requires the establishment of a framework, steps, and procedures by government agencies and officials in accordance with the policy direction given.

The government system of work has its own standards and regulations; therefore my work at the policy level does not have the authority to directly operate, order, or overrule the work of government officials in anyway. The implementation of projects involved with a policy must be in accordance with a Cabinet Resolution and must be based on Government Policy as announced to the House of Representatives, stipulated in Articles 171 and 178 of the Constitution of Thailand. I have always been aware that government work and private sector work must be based on such principles and with clear delegation of duties so that there is accountability in all related issues and accountability in each procedure.

Therefore, as there will be an announcement over the investigations into myself and although I have not been involved at the operational level, but nevertheless as I am being accused, I am compelled to exercise my rights within judicial procedures and therefore ask to examine the evidence and witnesses, in accordance with my rights in the judicial procedure as guaranteed by the Constitution of Thailand, so that I can correctly explain such accusations that I have not been involved in any wrongdoing to the NACC.

I have also submitted two official petition notes to the NACC since 11 February 2014, asking them to kindly consider reassigning any other NACC member to undertake the task of investigation, instead of Professor Vicha Mahakul.

However, since that day, I have not been informed by the NACC that my two above-mentioned petitions for justice would be considered or not. Instead, on 18 February 2014, the NACC, through a press briefing by the NACC member that I wished to be substituted, announced that I have been called on 27 February 2014, at 14.00 hrs. to be notified of the charges. If one considers the duration since the NACC assigned its member to investigate the case on 28 January 2014 until the recent announcement on 18 February 2014, it is only just 21 days. This short duration that the NACC used to investigate a political case has never happened before.

Another observation is that a cabinet member in the last government has been charged with corruption on many counts, including corruption charges on their rice insurance scheme. Surprisingly, there has been no judicial development regarding that particular case, whereas it takes only 21 days to investigate and bring charges against me.

My fellow Thai citizens,

I wish to assure you that as I have served my duty with righteousness and contrary to the charges brought against me by the NACC, I have done nothing wrong. On the charges that I did not stop this Rice Pledging Scheme Policy and allowed the scheme to continue, I wish to prove once again that the Scheme will definitely be beneficial to the farmers as it has raised the living standards of our fellow farmers. And though I may be charged in this criminal case and may have to give up my position in accordance to the wishes of those who want to topple my government, I will still lend my full cooperation and give necessary information to the NACC. It is also my fervent hope that the NACC will listen to all accounts of the witnesses before delivering their verdict. The judicial process, under the rule of law, would provide the best opportunity for the accused to prove oneself.

More importantly, if there were indeed true justice without any hidden agenda, the NACC would not have hurriedly investigated and delivered a verdict in such a manner that has allowed society to deem it as beneficial only to those who want to topple the government. And in comparison to previous cases that I have mentioned earlier, for example the rice scheme of the previous government, which is still under investigation since 2013 and other long impending cases such as the bail out of financial institutions from the 1997 economic crisis.

The NACC should prove to the public that it has used its power righteously, in accordance with the principles of the rule of law as stated under the constitution.

Lastly, I urge our dear farmers and the people of Thailand not to be disheartened by this ongoing dilemma. We shall solve this problem and overcome all other obstacles together. I am ready to listen and cooperate with every party to bring about the truth, the effectiveness and productivity of the Rice Pledging Scheme and whether it would really benefit the farmers. Should there be any need to amend the Scheme to be more effective, I am more than welcome as this would truly benefit every single Thai citizen.

Thank you very much.


วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สงครามใกล้จบ..แต่ให้ระวัง!!!


สงครามใกล้จบ..แต่ให้ระวัง!!!
By: ขนมต้ม เว็บราชดำเนิน เสาร์ 8 ก.พ.57

ไม่ได้ตั้งกระทู้เสียนาน แต่เข้ามาอ่านทุกวัน ก็ได้เห็นอะไรหลายๆอย่างในรอบการต่อสู้ครั้งนี้ ก็ขอวิเคราะห์สถานการณ์การเมืองในช่วงนี้ พร้อมทั้งข้อเสนอแนะนะครับ

1). ม็อบป้อแป้เต็มทน .... ผมได้มีโอกาสไปสังเกตการณ์ม็อบห่างๆนะครับ คนเหลือน้อยจริง ที่เหลือก็คือ คน กทม. กลุ่มหนึ่งที่ไม่มีอะไรจะทำมาก ไปเย้วๆตอนหลังเลิกงานกับวันหยุด แต่คนพวกนี้ไปกันชั่วครั้งชั่วคราว ไม่มีอะไรมาก ม็อบส่วนใหญ่ มาจากภาคใต้ ก็กลับไปเยอะ (ที่รถคว่ำเสียชีวิต ก็ขออโหสิกรรมให้) แกนนำก็หมดหนทางสู้ เพราะเล่นงัดมาทุกมุข

2). ที่มันพลาดอย่างจังก็คือวันเลือกตั้งนั่นแหละ ที่ชาวบ้านออกมาใช้สิทธิ์มากกว่าที่เขาคิดไว้ ก็เลยพยายามมา "ตะแบง" ข้างๆคูๆ แบบคนประชาธิปัตย์

แถมที่พลาดอย่างหนึ่งก็คือ กลยุทธ์ "ใช้กุ้งฝอยตกปลากระพง" (ซึ่งก็ไม่ทราบว่าใช้กันจริงหรือเปล่า) ที่ กลุ่มของโกตี๋ (ก็ไม่แน่ชัดว่าเป็นโกตี๋หรือเปล่า) ที่ออกมาที่หลักสี่วันนั้น ทำให้ เรื่องราวต่างๆ "แจ่มชัด" โดยไม่ต้องอธิบายอะไรกันมากเลย

เพราะผมเคยอยากจะให้รู้กันไปเหมือนกันว่า ชายชุดดำ นั้นมาจากไหน...และสุดท้าย "ช้างตายทั้งตัว" มันปิดไม่มิด...สุดท้ายก็เผยโฉมจนได้ ว่า ชายชุดดำก็คือกลุ่มคนที่มีความสามารถในทางกลยุทธ์ (ผมไม่ใช้คำว่า "ทหาร" เพราะไม่อยากจะเถียงคุณประยุทธ์) นั่นเอง

คำถามต่อมาก็คือ ตำรวจจะกล้าเล่นมั้ย เอาแบบกระชากหน้ากากกันออกมา แบบกระชากกลุ่มไล่ยิงขวัญชัย นั่นแหละ ถ้าตำรวจทำงานตรงไปตรงมา ไม่ต้องไปสนใจหน้าอินทร์หน้าพรหมไหน ท่านเป็นคนรักษากฎหมาย ต้องทำตามหน้าที่อย่างเคร่งครัด ฝากไว้ด้วยครับ




เทือกให้สัมภาษณ์..เสื้อคลุมตัวนี้เก็บมาจากถังขยะข้างโรงแรม ห้อง1804..อ่ะ


3). ย้อนกลับมาที่กลุ่มม็อบ ก็คือม็อบประชาธิปัตย์นั่นแหละ ก็เล่นเกมเหมือนเดิมคือ "โหนกระแส" อันไหนที่คิดว่าตัวเองได้เปรียบ ปชป. รีบทำเลย เกมแบบนี้แก้ง่าย เพราะใช้แค่ "เวลา" เป็นตัวตัดสิน.. ม็อบขี้เห่อแบบนี้ ดึงเกมไว้ยาวๆ ก็หายหมด..

4). ทีนี้ ถ้าดึงเกมไว้ยาวๆ เกิดอะไรขึ้น...พวกเขาจะสติแตก..จะยกระดับการชุมนุม ปิดโน่นปิดนี่...หาเรื่องใหม่ๆ มาโจมตี (ความจริงแทบจะหลับตาพูดก็ได้ว่า เขาจะทำอะไรต่อไปบ้าง) ซึ่งไร้สาระ และไร้สติปัญญามาก เป็นการกระทำแบบอันธพาล ที่พวกเราเคยเห็นมานั่นแหละ

5). เรื่องคนหนุนหลังม็อบ... ตรงนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ...เอาเป็นว่า ..ผมไม่ทราบนะว่าใครหนุนหลังบ้าง แต่เคยแช่งไว้ตั้งแต่ปี 49 แล้วว่า ถ้าใครก็ตามอยู่เบื้องหลังม็อบ หรือ กระทำการช่วยม็อบต่อต้านประชาธิปไตยแบบนี้ ขอให้ล่มจมพินาศ ส่วนจะจริงหรือไม่ เวลาก็จะเป็นเครื่องพิสูจน์อีกที รอดูกันได้ว่าจะจริงหรือไม่

@ จำนำข้าวอุ้มชาวนาแค่ 130,000 ล้านบาท ชักดิ้นชักงอจะเป็นจะตายให้ได้

6). กรณีเรื่องจำนำข้าว ตรงนี้เป็นจุดอ่อนของรัฐบาลจริง แต่ถ้าถามถึง "สภาพเป็นจริง" ผมเข้าใจได้ ว่า รัฐ โดนเตะตัดขามาตลอด เอาแค่ พ.ร.บ. งบประมาณ ยังถูกยื่นศาล รธน. ช้าไปอีก เพราะฉะนั้นคนที่บอกว่า ทำไมก่อนหน้ายุบสภา ถึงไม่จ่ายชาวนา ก็เพราะงบฯ มันถูกเตะตัดขา

ส่วนเรื่องการขายข้าวไม่ออกนั้น อันนี้มีส่วนจริง...แต่เคยพูดหลายครั้งว่า ในฐานะที่ เคยเป็นพ่อค้าขายข้าวส่งออก ขอบอกว่า พ่อค้าบางกลุ่ม รวมหัวกับโรงสี คอยเตะตัดขารัฐบาล โดยมี connection กับพรรค ปชป. อยู่ด้วย เงินที่เคยได้สมัย ปชป. ก็ถูกตัดวงจร

ตรงนี้แหละที่รัฐบาลพลาด... พลาดตรงที่ว่า ความจริงการทำแบบนี้ มันตัดเส้นทางทำมาหากินของเขา..บางอย่าง การค้าการขาย ก็ต้องดูทิศทางและความเหมาะสมไว้ด้วย การช่วยชาวนา นั่นเป็นเจตนาดี แต่วิธีการมันพลาด สมัยทักษิณเขาก็เคยจำนำข้าว สมัยสมัครเป็นนายก ก็เคยจำนำข้าว ตอนนั้นไม่ค่อยมีปัญหา เพราะไม่โดนตัดขาขนาดนี้

@ การเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 จะเป็นโมฆะหรือไม่???

7). เรื่อง กกต. มีมติให้ ครม.ออก พระราชกฤษฎีกาฯ ใหม่นั้น ขอบอกว่า ทำไม่ได้...คนเสนอ ควรถูกดำเนินคดี ข้อหา ทำผิด รธน. และ มาตรา 157

8). เรื่องการปฏิรูปนั้น ไม่มีอะไรมาก...เขาแค่อยากออกกฎหมาย ทำยังไงก็ได้ ให้อีกฝ่ายง่อยเปลี้ย แล้วให้ตัวเองแข็งแรง เลือกตั้งชนะ...ไม่มีอะไรมากไปกว่านั้น ในขณะที่ พวกหนึ่งก็อยากเข้ามามีอำนาจโดยไม่ผ่านการเลือกตั้งแบบยุคแต่งตั้ง ส.ว.

อย่าง ประสิทธิ์ บุญเฉย ...คนนี้ ก็น่าจะอยู่ในลิสต์ ของสภาประชาชน นั่นแหละ ไม่ต้องไปหาใครหรอก ไปถามชาวบ้าน เขาเคยได้ยินชื่อหรือเลือกตั้งมาหรือเปล่า

9). กรณีหม่อมอุ๋ยเสนอ...ไม่ต้องไปสนใจหรอก เพราะความคิด..ขอประทานโทษ..ห่วยมาก

10). เกมที่เขาจะเล่นก็คือ ให้ กกต. เตะถ่วงการประกาศผลเลือกตั้งไปเรื่อยๆ และพยายาม build อารมณ์ของผู้คนในสังคมว่า ทำไมยิ่งลักษณ์ไม่ลาออก ให้เกิดการกดดันมากๆ

แต่เอาเข้าจริงๆ คนที่กดดันมากกว่า ก็คือ ม็อบและผู้สนับสนุนนั่นแหละ...

สิ่งที่รัฐบาลควรจะทำก็คือ..อะไรที่ทำได้ก็ทำไป..เท่าที่จะมีอำนาจตามกฎหมายรองรับ อย่าไปฟังเสียงคนพวกนี้..พวกนี้มือไม่พายแต่เอาเท้าราน้ำ และการดำเนินคดีต่างๆ ควรเร่งรัดทำ..เพราะให้เวลาคนพวกนี้มาเยอะแล้ว

คนพวกนี้..หมายถึงกลุ่มพวกม็อบและผู้สนับสนุน คือพวกถ่วงความเจริญของประเทศชาติที่แท้จริง

วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 จะเป็นโมฆะหรือไม่???



การเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 จะเป็นโมฆะหรือไม่???
By: คนการเมือง

@ กกต.จะเสี่ยงทำผิดกฎหมายรึ ???



การเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 จะเป็นโมฆะหรือไม่??? ดูจากกฎหมายต่อไปนี้

@ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550

รธน. ม.93

วรรค 3 บัญญัติว่า "หลักเกณฑ์และวิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา"

วรรค 6 บัญญัติว่า "ในกรณีที่มีเหตุการณ์ใดๆ ทำให้การเลือกตั้งทั่วไปครั้งใดมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่ถึงสี่ร้อยแปดสิบคน แต่มีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละเก้าสิบห้าของจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด ให้ถือว่าสมาชิกจำนวนนั้น ประกอบเป็นสภาผู้แทนราษฎร แต่ต้องดำเนินการให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้ครบจำนวนตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน และให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าอายุของสภาผู้แทนราษฎรที่เหลืออยู่"

จะเห็นได้ว่า รธน. ม.93 (วรรค 6) บัญญัติไว้ชัดเจนถึงกรณีที่เมื่อมีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งใดแล้วได้ ส.ส. ไม่ครบ 95 เปอร์เซ็นต์ ให้ดำเนินการจัดการเลือกตั้ง ส.ส.เติมเข้ามาจนครบจำนวนภายในเวลา 180 วัน อันเป็นบทบัญญัติที่สะท้อนให้เห็นว่า เป็นเรื่องปกติที่เหตุการณ์ดังกล่าวอาจเกิดขึ้นได้ และรัฐธรรมนูญได้หาทางออกไว้ให้แล้ว

@ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งฯ พ.ศ.2550

พ.ร.บ.การเลือกตั้งฯ ม.8 (หมวด 1 ส่วนที่ 1 บททั่วไป)

"ในการดำเนินการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไป ถ้าคณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่ามีกรณีอันควรเชื่อได้ว่า การเลือกตั้งนั้นมิได้เป็นไปโดยไม่สุจริตและเที่ยงธรรม ให้ประกาศผลการเลือกตั้งว่าผู้ใดได้รับเลือกตั้งภายในเจ็ดวันทำการนับแต่วันเลือกตั้ง

แต่ถ้าเห็นว่าเป็นกรณีที่มีเหตุอันสงสัยว่ามีกรณีไม่สุจริตและเที่ยงธรรมในเขตเลือกตั้งใด จะยังไม่ประกาศผลสำหรับเขตเลือกตั้งนั้นก็ได้ แต่ต้องสอบสวนและวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันเลือกตั้ง ทั้งนี้ การประกาศผลการเลือกตั้งไม่มีผลกระทบกระเทือน

การดำเนินการของคณะกรรมการการเลือกตั้งตามหมวด 1 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ส่วนที่ 10 การดำเนินการกรณีการเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และส่วนที่ 11 การคัดค้านการเลือกตั้ง"

พ.ร.บ.การเลือกตั้งฯ ม.78 (ส่วนที่ 7 การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง)

วรรคแรก ในกรณีที่การลงคะแนนเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้งแห่งใดไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากเกิดจลาจล อุทกภัย อัคคีภัย เหตุสุดวิสัย หรือเหตุจำเป็นอย่างอื่น ถ้าเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นก่อนวันเลือกตั้ง ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งกำหนดที่เลือกตั้งใหม่ ที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถไปลงคะแนนเลือกตั้งได้โดยสะดวก แต่ถ้าไม่อาจกำหนดที่เลือกตั้งใหม่ได้ ให้ประกาศงดลงคะแนนเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้งนั้น แล้วรายงานต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งโดยด่วน

วรรคสอง ในกรณีที่เหตุตามวรรคหนึ่งเกิดขึ้นในวันเลือกตั้ง ให้คณะกรรมการประจำเขตเลือกตั้งหรือคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง ประกาศงดลงคะแนนเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้งนั้น แล้วรายงานต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งโดยด่วน

วรรคสาม ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดวันลงคะแนนเลือกตั้งใหม่ในหน่วยเลือกตั้งนั้นโดยเร็ว เว้นแต่คณะกรรมการการเลือกตั้งจะกำหนดเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด

วรรคสี่ ในการดำเนินการตามวรรคสาม ถ้าคณะกรรมการการเลือกตั้งเห็นว่าไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จตามมาตรา 8 ได้ ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง จัดให้มีการลงคะแนนเลือกตั้งใหม่สำหรับหน่วยเลือกตั้งนั้นได้ตามความเหมาะสมโดยไม่ต้องนำระยะเวลาตามวรรคสามมาใช้บังคับก็ได้

ม.78 วางแนวทางไว้แล้วว่า หน่วยเลือกตั้งใดไม่สามารถเลือกตั้งได้ ให้ กกต.กำหนดวันลงคะแนนเลือกตั้งใหม่ในหน่วยเลือกตั้งนั้นโดยเร็ว หรือ กกต.จะกำหนดได้ตามความเหมาะสม

พ.ร.บ.การเลือกตั้งฯ ม.102 (ส่วนที่ 9 การลงคะแนนเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้ง)

วรรคแรก การออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งตามส่วนที่ 9 นี้ คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจดำเนินการล่วงหน้าเพื่อนำบัตรเลือกตั้งมานับรวมในวันเลือกตั้งได้ เว้นแต่มีเหตุจำเป็นเฉพาะท้องที่คณะกรรมการการเลือกตั้งจะกำหนดเป็นอย่างอื่นก็ได้

วรรคสอง ในกรณีที่บัตรเลือกตั้งส่งมาถึงสถานที่นับคะแนนของเขตเลือกตั้งใดหลังจากเริ่มนับคะแนนแล้วให้ถือว่าบัตรเลือกตั้งนั้นเป็นบัตรเสีย

วรรคสาม ในกรณีที่บัตรเลือกตั้งจากที่ใดสูญหาย หรือมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าการเลือกตั้งที่ใดมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งวินิจฉัยสั่งมิให้นับคะแนนจากที่นั้นก่อน แล้วจึงสั่งให้บัตรเลือกตั้งจากที่นั้นเป็นบัตรเสีย

ตาม ม.102 การลงคะแนนเลือกตั้งนอกเขตเลือกตั้ง (ที่เรียกว่าเลือกตั้งล่วงหน้า) เมื่อมีเหตุจำเป็นเฉพาะท้องที่ จะไม่นำบัตรมานับรวมในวันเลือกตั้งก็ได้ เป็นข้อยกเว้นที่สะท้อนให้เห็นว่าเป็นกรณีที่อาจเกิดขึ้นได้และกฎหมายได้มีทางออกไว้ให้แล้ว

@ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2550

ทั้งหมดนี้ อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ กกต.ทั้งสิ้น ตาม พ.ร.บ. กกต. ม.10

และ ม.29 ยังกำหนดว่า "ห้ามมิให้กรรมการการเลือกตั้ง... กระทำการหรือละเว้นกระทำการโดยทุจริตหรือประพฤติมิชอบในการปฏิบัติหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับการเลือกตั้ง..."

กกต.ไม่ต้องกลัว เพราะในการปฏิบัติหน้าที่นั้น ถ้ากระทำการตามหน้าที่โดยยึดหลักสุจริต ยึดหลักกฎหมาย ก็ย่อมได้รับความคุ้มครอง ไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางปกครอง

ทั้งหมดนี้ เป็นข้อมูลว่าการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 จะเป็นโมฆะหรือไม่ ขอให้วิญญูชนได้พิจารณา

วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ผลาญไปแล้ว 1,748,000 ล้านบาท แค่ 4โครงการ เท่านั้นนะจ๊ะ


ภาพจาก ชมรมคนรักการถ่ายภาพ จ.บุรีรัมย์

ปชป. ผลาญไปแล้ว 1,748,000 ล้านบาท แค่ 4โครงการ เท่านั้นนะจ๊ะ ... จำนำข้าวอุ้มชาวนาแค่ 130,000 ล้านบาท ชักดิ้นชักงอจะเป็นจะตายให้ได้ ...

ย้ำ...แค่ 4โครงการ เท่านั้น ผลาญไปแล้ว 1,748,000 ล้านบาทจิ๊บๆ ...
> เช็คช่วยชาติ 2,000 บาท
อ้างอุ้มชนชั้นกลาง งบ 18,000 ล้านบาท..ไม่เป็นไร
> ปรส.
อ้างอุ้มคนรวย (ล้มบนฟูก) 800,000 ล้านบาท..ไม่เป็นไร
> ประกันราคาข้าวขาดทุน 130,000 ล้านบาท
อ้างอุ้มชาวนา..ไม่เป็นไร
> ไทยเข้มแข็ง กู้เงิน 800,000 ล้านบาท
อ้างนำมากระตุ้นเศรษฐกิจ..ไม่เป็นไร
รวมยอดพรรคประชาธิปัตย์ ผลาญเงิน..แค่ 4โครงการ
ผลาญไปแล้ว 1,748,000 ล้านบาท
ตัวเลขกลมๆ หนึ่งล้านเจ็ดแสนสี่หมื่นแปดพัน ล้านบาท
แล้วจำนำข้าวขาดทุน เพื่ออุ้มชาวนา..ไม่ได้หรือ?
หรือต้องอุ้มชาวนาเฉพาะตอนประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล?

รัฐบาลรับจำนำข้าว 5 รอบ มีชาวนามีรายได้เพิ่มจากโครงการ 3,260,000 ครอบครัว

ณัฐวุฒิแจงเรื่องจ่ายเงินจำนำข้าวชาวนา 8กุมภา57

By songvit : รัฐบาลปูจ่ายเงินให้ชาวนาไปแล้วประมาณ 6.8 แสนล้านบาท ขาดทุนปีละประมาณ 1.2 แสนล้านบาท เงินส่วนนี้ตกไปอยู่ในมือชาวนา ทำให้เกิดการบริโภค หมุนเวียนในตลาด สะพัดหลายรอบ

By songvit : ส่วนประกันสมัยรัฐบาลมาร์ค ใช้ไป 1.3 แสนล้านบาท แต่เอาไปแจกให้กับเจ้าของโฉนดที่ดินที่มาขึ้นทะเบียนสูงถึง ห้าสิบล้านไร่ ทั้งๆที่มีที่นาในประเทศทำนาอยู่เพียง สามสิบห้าล้านไร่ เท่านั้น..ราคาข้าวยังตกต่ำอยู่ หกเจ็ดพันเท่านั้น ไม่ได้สูงขึ้นเหมือนปัจจุบัน..หมื่นสองถึงหมื่นห้า..


By songvit : เมื่อรัฐบาลสามารถดึงราคาที่เคยขายได้ตันละหกเจ็ดพันมาเป็นหมื่นสองถึงหมื่นห้า ผ่านนโยบายจำนำข้าว หากวันใดราคาข้าวขึ้นติดลมบน ตลาดรับซื้อเกินหมื่นสองเป็นต้นไป รัฐบาลก็ไม่จำเป็นต้องรับจำนำอีกต่อไป ชาวนารู้ด้วยใจ อำมาตย์ก็รู้ดี จึงขัดขวางทุกวิถีทาง...

By ping : ต้องทำให้ราคาตลาดเป็นของคนผลิต ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับคนซื้อ ทำแบบที่โอเปคตั้งราคาน้ำมัน

By payai97 : เพราะจุดมุ่งหมายหลักคือ..ต้องการช่วยเหลือชาวนาที่ถูกเอารัดเอาเปรียบทุกเม็ด..ชาวนาจึงต้องจนดักดานอยู่อย่างนี้


By iamnotslave : ไม่ต้องคิดอะไรมากร๊อก ชาวนามีเงินมาก ก็ใช้มาก เงินก็ไปหมุนเวียนในระบบ มันก็เพิ่มมูลค่าขึ้น ชาวนาคงไม่หอบเงินไปฝากแบ็งค์กินดอกเบี้ยหรือเอาไปช็อบปิ้งต่างประเทศ นโยบายประชานิยมนี่แหละดีที่สุด เพราะคนรากหญ้า คนยากจนด้อยโอกาส เป็นผู้กระจายเงินให้หมุนเวียน แล้วกลับมาเป็นภาษี เอามาพัฒนาประเทศ ไม่มีประชานิยมประเทศไหนในโลกนี้ที่ทำให้ประเทศเจ๊ง

By ping : ชาวนามีเงิน พ่อค้าก็รวยขึ้น ถูกต้องแล้วครับ

By songvit : อำมาตย์ก็รู้ดี จึงขัดขวางทุกวิถีทาง...

By maeping : เหมือน 30บาทรักษาทุกโรค เริ่มใหม่ๆแมงสาปอำมาตย์ก็ต่อต้านเต็มที่


By Chaiworamon : หากโครงการรับจำนำข้าว ทำสำเร็จและเป็นบรรทัดฐานไว้ ก็ไม่มีใครจะมาล้มได้ เช่นเดียวกันกับ โครงการสามสิบบาทรักษาทุกโรค ผลประโยชน์ตกอยู่กับคนยากจน มิใช่โรงพยาบาลของรัฐได้กำไร...จำนำข้าวเช่นกัน กำไรอยู่ที่ชาวนา มิใช่จากการค้าข้าว และสิ่งที่เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จ คือ "คุณภาพชีวิตของชาวนา" มิใช่ว่าได้กำไรมากขึ้นแต่อย่างเดียว จริงๆแล้ว อยากให้รัฐบาลเปลี่ยนชื่อโครงการรับจำนำข้าวเสียใหม่ให้เป็นภาพรวมๆ เช่น "โครงการยกระดับคุณภาพชาวนา" (ซึ่งมิได้อยู่กับราคาข้าวอย่างเดียว)

By Chaiworamon : สั้นๆครับ! สิ่งที่พวกเขาต้านและรัฐบาลถูกโจมตีอย่างหนัก นั่นหมายถึง รัฐบาลเดินมาถูกทางแล้ว เรื่องการทุจริตในบางขั้นตอน มันแก้ไขได้...แต่ทำไมถึงจะต้อง จับชาวนาเป็นตัวประกัน ทำไมจะต้องคว่ำรัฐบาล ทำไมจะต้องล้มเลิก โครงการนี้ไม่ได้มีปัญหามากมายแต่อย่างใด แต่มีปัญหากับผู้มีอำนาจตัวจริง...ที่ไม่อยากให้เกิด และตามขัดขวางมาโดยตลอด เมื่อไม่อยากให้เกิด ก็เลยเกิดปัญหา....อย่าไปบ้าจี้ตามพวกล้มรัฐบาลเลยครับ!

@ แค่ 4โครงการ เท่านั้น

By คนการเมือง : การประกัน คือ การชดเชยเงินที่ชาวนาขายได้ต่ำกว่าราคาประกัน (การประกันราคา รัฐฯจ่ายเงินให้ไปฟรีๆ จ่ายไปเท่าไหร่ก็ขาดทุนเท่านั้น ไม่มีทางได้เงินคืน และข้าวก็ไม่ได้สักเมล็ด)

ลองคิดดูแบบ หยาบๆง่ายๆ สมมุติ...ราคาตลาดโลก 10,000 บาท รัฐฯก็ประกันที่ 10,000 บาทเหมือนกัน

แต่พ่อค้ามาซื้อกด 6,000 รัฐฯต้องชดเชย 4,000 พ่อค้าไปขายก็จะได้กำไร 4,000 เหมือนกัน

แปลว่า เงินที่ชดเชยให้ชาวนาปีหนึ่ง ในระบบประกันประมาณ 70,000 ล้าน ก็แปลว่า พ่อค้าก็กำไรปีละประมาณเดียวกันนั้น

แล้วพ่อค้าส่งออกรายใหญ่เมืองไทยมีกี่ราย แบ่งกันอู่ฟู่เลย แล้วอย่างนี้ พวกนี้ ทำไมจะไม่ชอบ การประกัน ...ตกลงในความเป็นจริง รัฐบาลกำลังเอาเงินให้ชาวนา หรือ กำลังเอาเงินให้พ่อค้า

การที่ ชาวนา เอาข้าวมา จำนำ ต้องเป็นผู้ลงทะเบียนกับรัฐฯไว้ครับ (การรับจำนำ ชาวนาสามารถไถ่คืนได้ถ้าที่อื่นหรือพ่อค้าให้ราคาสูงกว่าจำนำ ส่วนรัฐฯได้ข้าวเก็บไว้ในสต๊อก ถ้ามีการบริหารจัดการที่ดี รัฐฯอาจขายข้าวได้ดีกว่าที่รับจำนำมาก็จะได้กำไร สามารถนำเงินที่ขายมาหมุนเวียนรับจำนำข้าวต่อไปได้อีก หรือถ้าบริหารไม่ดีราคาข้าวในตลาดต่ำกว่าที่รับจำนำมาก็ขาดทุน ซึ่งอาจจะน้อยกว่าเงินที่เอาไปอุดหนุนการประกันราคาก็ได้)

By คนการเมือง : ต้องบอกก่อนนะครับว่า นี่คือข้อมูลจากเพื่อนที่เป็นเจ้าของที่นาให้เช่า ยอมรับออกมาว่า การประกันสมัย รบ.ก่อน เขารับเงินเอง ทั้งที่เขาไม่ได้ทำนา แต่ชาวนาที่เช่าที่เขาทำนาไม่ได้สักสลึง

คืองี้... การประกัน โดยให้เจ้าของที่ดิน นำโฉนดไปลงทะเบียน แม้ว่าที่ผื่นนั้นจะให้ผู้อื่นเช่าทำนาไปแล้วก็ตาม โดยรัฐฯจ่ายเงินส่วนต่างให้กับผู้เป็นเจ้าของที่ดิน ส่วนชาวนา อด ไม่เกี่ยว

มิน่าถึงออกมาคัดค้านการจำนำ เพราะ จำนำข้าวชาวนารับเอง เจ้าของที่ดิน ไม่เกี่ยว...

เจ้าของที่นา นายทุนได้ทั้งค่าเช่า ได้ทั้งเงินค่าประกันราคาข้าว..แบบนี้นี่เองถึงค้านกัน

ช่วยประชาสัมพันธ์ครับ โครงการดีน่าสนใจ

ช่วยประชาสัมพันธ์ครับ โครงการดีน่าสนใจ

คำถาม : ทำไมไม่ขายข้าว...ทำไมต้องกู้มาจ่าย...ทำไม ไม่เข้าใจ???

คำตอบ : By: You raise me up / ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า..โครงการจำนำข้าวของรัฐบาล จุดประสงค์คือต้องการยกระดับราคา ให้ชาวนาได้ขายได้ราคา โดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลางที่ชอบกดราคา เมื่อรัฐบาลสามารถดึงราคาที่เคยขายได้ตันละหกเจ็ดพันมาเป็นหมื่นสองถึงหมื่นห้าผ่านนโยบายจำนำข้าว หากวันใดราคาข้าวขึ้นติดลมบน ตลาดรับซื้อเกินหมื่นสองเป็นต้นไป รัฐบาลก็ไม่จำเป็นต้องรับจำนำอีกต่อไป ชาวนารู้ด้วยใจ อำมาตย์ก็รู้ดี จึงขัดขวางทุกวิถีทาง...

ข้าวไม่ได้ขายในเซเว่น ถึงจะขายกันได้ง่ายๆทุกวันแบบขนมจีบ ซาลาเปา พูดกันอยู่ได้ว่าทำไมไม่รีบขาย รู้ได้ไงเขาไม่ได้ขาย เขาก็เปิดประมูลไปเรื่อยๆครั้งละไม่เกิน 500,000 ตันบ้าง 300,000 ตันบ้าง แต่มันไม่ทันเอาเงินมาหมุนในภาวะที่เป็นสูญญากาศแบบนี้ เพราะขั้นตอนที่ต้องเปิดประมูลประกวดราคา ต้องแข่งราคา และต้องต่อรอง......มันไม่จบง่ายๆในวันสองวัน

แต่ถ้าเทขายทั้งหมดตอนนี้แบบถูกบังคับขายราคาจะได้ต่ำ ก็จะเสร็จพวกพ่อค้าข้าวที่จ้องซื้อข้าวไปกักตุนไว้ขายฟาดกำไรบานตอนช่วง เมษา - มิถุนา พวกพ่อค้าจ้องอยู่ ทำให้พวกพ่อค้าข้าวร่วมมือกับม็อปกดดันให้สร้างข่าวลือ ข่าวเท็จทำลายชื่อเสียงเพื่อให้ราคาข้าวตก จะได้ซื้อในราคาถูก

อีกอย่าง..ปริมาณข้าวมีมากเกินความต้องการของตลาด รัฐบาลต้องทยอยขาย ถ้ารีบขายจะได้ราคาถูกมาก และก็ขายไม่ออกเพราะมันเกินความต้องการไง เข้าใจม่ะ แล้วถ้าจะดั้มราคา ผู้ส่งออกข้าวประเทศอื่นก็จะซวยไปด้วยเพราะจะไม่สามารถแข่งขันได้ แต่ถ้ารัฐบาลขายตอนช่วงข้าวโลกขาดตลาดก็จะได้ราคางามเช่นกัน

ปกติก็ต้องกู้มาจ่ายล่วงหน้าไปก่อน ถ้าไม่กู้จะเอาเงินจากไหนมาจ่าย เดี๋ยวขายข้าวได้เงินมันก็มาทดแทนเอง ทำธุรกิจต้องใจเย็นหน่อย คงต้องไปลงเรียนสาขาบริหารธุรกิจหรือเศรษฐศาสตร์สักหน่อยน่าจะดี อาจจะมองอะไรในด้านธุรกิจได้ดีขึ้น

ส่วนการจำนำข้าวเป็นโครงการที่ดีมั้ย จุดประสงค์ดีคือต้องการยกระดับราคา ให้ชาวนาได้ขายได้ราคา โดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลางที่ชอบกดราคา แต่กระบวนการในการดำเนินงานนั้นหย่อนยานเมื่อเทียบกับพวกจ้องจะโกงในทุกวิถีทาง

ถ้าคิดในแง่ดี ถ้าอาชีพชาวนามันสามารถลืมตาอ้าปากได้ดี คนก็อยากจะทำ แต่ถ้าทำแล้วจนๆๆ คนก็พากันเลิกทำนาออกมาหางานทำในเมือง สุดท้ายอาจมีปลาตัวใหญ่เข้ามาผูกขาดทำนาแบบอุตสาหกรรม และสามารถกำหนดราคาได้ เพราะไม่มีคู่แข่งเหมือนที่เราเห็นในปัจจุบัน หรือไม่อาจไม่มีคนอยากทำนา ไทยอาจต้องไปซื้อข้าวจากต่างประเทศก็ได้